เนื้อหาซ้ำ เนื้อหาไม่ซ้ำ เนื้อหาสดใหม่ แบบที่ Google ต้องการดูยังไง

เนื้อหาสดใหม่

Google มองหาข้อมูลหรือเนื้อหาที่สดใหม่อยู่เสมอ หากเราอยากทำ SEO ให้ได้ผลออกมาดี เราต้องป้อนข้อมูลสดใหม่ แบบที่ Google ต้องการ

การตลาดบน Google ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการทำ SEO หรือการลงโฆษณา (Ads) เป็นการตลาดผ่านข้อมูล เว็บไซต์เราจะปรากฏในหน้าผลการค้นหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราใส่ลงไปบนเว็บ

เว็บที่ชนะในการทำอันดับ SEO คือ เว็บที่ผลิตข้อมูลสดใหม่ ในแบบที่ Google ต้องการได้มากกว่าเว็บคู่แข่ง

ดังนั้น หากคุณกำลังเริ่มต้นทำ SEO คุณต้องแยกให้ออกเสียก่อนว่า เนื้อหาซ้ำ เนื้อหาไม่ซ้ำ เนื้อหาสดใหม่ นั้น เราจะมีวิธีการดู มีวิธีการตรวจเช็คอย่างไรบ้าง บทความนี้จะพูดถึงเรื่องเหล่านี้แบบละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

เข้าใจกระบวนการเก็บข้อมูลของ Google

Google จะมีกระบวนการเก็บข้อมูลเนื้อหาบนเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. Crawling: การรวบรวมข้อมูล
    การรวบรวมข้อมูล คือ การที่ Google ส่งหุ่นยนต์ (Bot) วิ่งไปแสกนหน้าเว็บทั้งหมดที่ปรากฏบน Internet โดยการเชื่อมโยงจากลิงก์ของเว็บไซต์นึง ไปอีกเว็บไซต์นึง หรือแสกนหาข้อมูลจากการเชื่อมโยงลิงก์ภายในเว็บไซต์นั้นๆ ทุกเว็บที่ไม่ได้ปิดกันข้อมูล Google จะมองเห็นทั้งหมด แค่ว่าการเจอข้อมูลของ Google ในแต่ละเว็บจะมีความช้าเร็วในการถูกค้นพบไม่เท่ากัน
  2. Indexing: การจัดทำดัชนี
    เมื่อ Google ได้ข้อมูลจากเว็บต่างๆ มาแล้ว เขาจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วจัดกลุ่มข้อมูล ไว้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน และจัดเก็บไว้ในดัชนี คำว่า Indexing อาจจะเปรียบเหมือนดันชนีหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ก็ได้
  3. Ranking: การจัดอันดับ
    เมื่อมีคนค้นหาคำ (keyword) บนหน้าเว็บ Google เขาจะดึงข้อมูลในดัชนี ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหามาแสดง โดยหน้าเว็บที่แสดงเป็นอันดับ 1 แปลว่า หน้าเว็บนั้นมีข้อมูลที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหามากที่สุด

เว็บเกิดใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน ข้อมูลที่เป็นขยะหรือซ้ำก็มีมากขึ้น

การรวบรวมข้อมูลของ Google ไม่มีข้อจำกัด Google bot ไม่มีวันหยุด แต่การเลือกข้อมูลที่นำเข้ามาจัดเก็บในดัชนี (Indexing) มีข้อจำกัด คือ เขาจะไม่นำเข้าข้อมูล ที่เขาเคยเก็บไว้แล้ว มาเก็บซ้ำอีก เพราะมันจะเปลืองเนื้อที่ฐานข้อมูลมากเกินไป (database)

เหมือนเราเข้าห้องสมุด หรือร้านหนังสือ เราก็อยากเจอหนังสือใหม่ๆ เรื่องราวใหม่ๆ ไม่ใช่เจอแต่หนังสือเก่า เล่มเดิมๆ ที่เราเคยอ่านมาแล้ว

ดังนั้นหากคุณต้องการทำเนื้อหาบนเว็บแล้วอยากให้ Google เลือหน้าเว็บของคุณมาแสดงบนหน้าแสดงผลค้นหา (SERP) คุณจำเป็นต้องป้อนเนื้อหาที่มีความสดใหม่ เท่านั้น

แยกความแตกต่าง ระหว่างเนื้อหาซ้ำ ไม่ซ้ำ และสดใหม่ ให้ออก

แต่ปัญหาก็คือ เนื้อหาสดใหม่ ดูยังไง เช็คยังไง เพราะถ้าคุณเช็คไม่เป็น บางที่สิ่งที่คุณเขียนแม้ว่าคุณจะเขียนเอง ไม่ได้ลอกใครมา มันอาจยังไม่ใช่ข้อมูลสดใหม่ ในแบบที่ Google ต้องการก็ได้

แต่การทำเนื้อหาสดใหม่ มันคือปลายทาง ทุกข้อมูลที่เราใส่บนเว็บ ต้องผ่านด่านแรกก่อน คือ ผ่านเกณฑ์ความไม่ซ้ำ เพื่อให้ Google bot เข้ามารวบรวมข้อมูล แล้วต้องใช้เวลาสักพัก Google ก็จะตัดสินเองว่าข้อมูลนั้นสดใหม่หรือไม่

เนื้อหาซ้ำ

ความหมายของเนื้อหาซ้ำในที่นี่ หมายถึงการคัดลอกเนื้อหาจากเว็บคนอื่นมาวางบนเว็บเราแปบเปะๆ แบบนี้เรียกว่าซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

แต่บางครั้ง เราไม่ได้เป็นคนทำเนื้อหาเอง อาจจะเป็นทีมงานเป็นคนทำ หรือคุณไปจ้างนักเขียน outsource มาเขียนบทความให้ ซึ่งบางครั้งคนเหล่านี้อาจะมีการแอบลักไก่ ใส่ข้อมูลที่คัดลอกจากเว็บอื่นมาก็ได้

ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือหัวหน้าทีม SEO คุณต้องเช็คจุดนี้เป็น

วิธีการเช็คเนื้อหาซ้ำ

วิธีการเช็คเนื้อหาซ้ำนั้นดูไม่ยาก ให้คัดลอกเนื้อหาของแต่ละย่อหน้าบนเว็บ แล้วเอาประโยคนั้นไปค้นหาต่อบน Google ถ้าเนื้อหานั้นซ้ำ เราจะเจอข้อมูลชุดนี้ปรากฏอยู่บนเว็บคนอื่นๆ แบบเปะๆ แบบนี้เราเรียกว่า เนื้อหาซ้ำ เช่น

ผมเข้าไปที่เว็บของผม แล้วคัดลอกมา 1 ประโยคตามรูป

แล้วผมก็เอาประโยคนั้นไปค้นหาต่อบน Google แล้วเจอผลลัพธ์แบบรูปด้านล่าง แปลว่าประโยคนั้นบนเว็บของผม คือ เนื้อหาซ้ำ เพราะเว็บที่ปรากฏขึ้นไม่ใช่เว็บหลักของผม

ให้เช็คแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุกย่อหน้า ถ้าเจอข้อมูลไหนที่ซ้ำ ก็ให้เข้าไปแก้ไขใหม่ อย่าให้เหมือนกับเว็บคนอื่นๆ แบบเปะๆ ครับ

เนื้อหาไม่ซ้ำ

ก่อนที่เนื้อหาบนเว็บของคุณจะได้กลายเป็นเนื้อหาสดใหม่ในแบบที่ Google ต้องการ มันต้องผ่านกระบวนการแรกก่อน คือ ความไม่ซ้ำ

วิธีเช็คเนื้อหาไม่ซ้ำ

การเช็คเนื้อหาที่ไม่ซ้ำ ก็ทำวิธีการเดียวกับการเช็คเนื้อหาซ้ำ แต่ถ้าผลลัพธ์ ไม่เจอตัวอักษรที่เป็นแถบสีแดง เต็มประโยค ปรากฏอยู่บนเว็บใดๆ เลย แบบนี้แหละเราเรียกว่าเนื้อหาไม่ซ้ำ ไม่ได้คัดลอกคนอื่นมาแบบเปะๆ

เนื้อหาสดใหม่

ส่วนการได้เป็นเนื้อหาสดใหม่ ในสายตา Google ก็คือ เมื่อเราคัดลอกเนื้อหาบนเว็บของเรา แล้วเอาไปวางบน Google ก็จะเจอเว็บของเราเองที่เป็นเนื้อหานั้นเป็นแถบสีแดงแบบเปะๆ แบบนี้ แสดงว่าประโยคนี้ เราถือว่าเป็นเนื้อหาสดใหม่ (fresh content) ในสายตา Google

ทำความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้อหาสดใหม่

  • การได้มาซึ่งข้อความสดใหม่ จะไม่ได้ในทันทีต้องรอให้ Google รวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีก่อน ดังนั้น จุดนี้เราจะรู้ว่าสิ่งที่เราเขียนสดใหม่หรือใหม่ ต้องใช้เวลารออย่างน้อย 1-3 เดือนขึ้นไป ดังนั้นผมแนะนำว่าให้คุณใจเย็นทำเนื้อหาเสร็จรอสัก 2 เดือนก่อน แล้วค่อยกลับไปเช็คจุดนี้นะ
  • เว็บที่พึ่งเริ่มต้นยังไม่ถึง 3 เดือน อาจจะต้องรอเช็คเรื่องความสดใหม่นานกว่าเว็บปกติ ดังนั้นให้ใจเย็นๆ รอสักเดือนที่ 4 ค่อยกลับไปเช็คเรื่องความสดใหม่ เพราะบางครั้งสิ่งที่คุณเขียนมันอาจจะสดใหม่แล้ว แต่ว่าเว็บคุณยังใหม่เกินไป การ Crawling จาก Google อาจจะยังไม่เจอเว็บของคุณในช่วง 2-3 เดือนแรก
  • ก่อนที่จะได้เป็นเนื้อหาสดใหม่ ต้องผ่านด่านแรกคือ เนื้อหาไม่ซ้ำก่อน
  • พยายามทำให้หน้าเว็บมีเนื้อหาสดใหม่สักครึ่งนึง ของเนื้อหาทั้งหมดในหน้านั้น เราไม่มีทางทำสามารถทำให้สดใหม่ ทุกย่อหน้าได้ บางย่อหน้าอาจจะไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นเนื้อหาสดใหม่ ก็ไม่เป็นไร แค่อย่าไปคัดลอกเนื้อหาเว็บคนอื่นมาแบบเปะๆ เป็นพอ

สรุป

การทำ SEO เป็นการตลาดที่ใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือ แต่ไม่ใช่ใส่ข้อมูลอะไรก็ได้ Google มองหาเว็บที่มีข้อมูลสดใหม่ตลอดเวลา ดังนั้น จะเขียนสิ่งใดลงไปต้องพยายามเขียนออกมาให้มีสไตล์เป็นของตัวเอง ทำข้อมูลบนเว็บเสร็จ ให้ใจเย็นรอเวลา Google เขาเก็บข้อมูลก่อน แต่ถ้ารอมาสักพัก ยังไม่ผ่านเกณฑ์ความสดใหม่ ก็ค่อยกลับไปแก้ไขเนื้อหานั้นอีกครั้ง

สำหรับคนที่ต้องการทำ SEO แบบจริงจัง หลักจากเรียนคอร์สออนไลน์จบแล้ว อาจต้องมาเรียนเพิ่มเติมแบบส่วนตัว เพื่อให้ผมช่วยวิเคราะห์สิ่งที่ทำ จุดไหนทำมาดี จุดไหนยังไม่ดี ต้องใช้สายตาผมในการมอง และวางแผนเพิ่มเติมให้เหมาะกับธุรกิจของแต่ละคน ดูค่าใช้จ่ายและรายละเอียดการเรียนก่อนได้ครับ

รับสอน SEO

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *