การทําเว็บหลายภาษาบน WordPress มีหลายวิธี แต่ที่ส่วนใหญ่ทำกันเพื่อให้ง่ายที่สุด อาจมีอยู่ 2 แนวทางครับ ดังนี้ครับ
1. ทำแยกกันเป็นคนละเว็บไปเลย
คือ มี 1 ภาษาอยู่บนโดเมนหลัก เช่น www.mydomain.com กับอีกภาษาจะทำเว็บแยกออกมาต่างหาก อาจจะสร้างที่ซับโดเมน เช่น www.en.mydomain.com หรือจะไปสร้างที่ directory ต่อท้ายชื่อโดเมนก็ได้ครับ เช่น www.mydomain.com/en
ข้อดีคือทำง่าย แยกเนื้อหาได้ชัดเจนแม้จะมีปริมาณข้อมูลไม่เท่ากัน แต่ข้อเสียมีเพียงอย่างเดียว คือ มันไม่เท่ กดเปลี่ยนภาษาแล้วมันจะกลับมาเริ่มที่หน้า home ของอีกภาษาเสมอ
ตัวอย่างเว็บ 2 ภาษา ที่ทำแบบแยกเว็บ
2. ใช้ปลั๊กอินช่วยในการแยกแต่ละภาษา
คือ รวมระบบทุกอย่างรวมในเว็บเดียว เวลาแก้ แก้ที่เดียว อัพเดทระบบที่เดียว เว็บแต่ละหน้า สามารถคลิกไปอีกภาษาในเนื้อหาเดียวกันได้ แต่มีข้อเสีย ก็คือระบบทำงานหนักกว่าแยกเว็บ เนื่องจากต้องคอยเช็คตลอดว่าขณะนั้นอยู่ในภาษาอะไร ทำให้มักจะแสดงผลช้ากว่า
อ่านเพิ่มเติม: วิธีทำเว็บหลายภาษาด้วยปลั๊กอิน WPML
สำหรับบทความนี้ผมจะมาแนะการทําเว็บหลายภาษาบน WordPress แบบแยกเว็บครับ
การทำเว็บหลายภาษาบน WordPress แบบแยกเว็บ
1) ติดตั้ง WordPress ที่ Directory ให้เรียบร้อย
สำหรับวิธีการติดตั้ง WordPress ของแต่ละ Hosting อาจมีขั้นตอนไม่เหมือนกัน วิธีที่ง่ายที่สุด ผมแนะนำให้คุณติดต่อผู้ให้บริการโฮสติ้งที่คุณใช้อยู่ (โฮสทุกเจ้ามีบริการลง WordPress ให้ฟรีครับ) แจ้งเขาไปว่า ให้ติดตั้ง WordPress ที่ Directory ของโดเมนที่คุณต้อง เช่น mydomain.com/en แบบนี้เป็นต้น
เมื่อคุณติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้วเราจะได้เว็บ WordPress เปล่าๆ แบบนี้ครับ
2) โคลนนิ่ง เว็บโดเมนหลัก มาใส่ที่ เว็บ Directory
สำหรับวิธีการโคลนิ่งเว็บ เราจะใช้ปลั๊กอิน All in on migration ในการทำนะครับ
สำหรับคนที่ยังไม่เคยโคลนนิ่งเว็บ หรือย้ายเว็บมาก่อน เข้าไปอ่านวิธีการย้ายเว็บจากบทความนี้ก่อนได้เลยครับ วิธีย้ายเว็บ กู้คืนเว็บ หรือ backup WordPress
ถ้าคุณโคลนนิ่งเว็บเรียบร้อยแล้วเราจะได้เว็บที่หน้าตาเหมือนกัน 2 เว็บ แบบนี้
3) สร้างเมนูเพื่อเชื่อมโยงเว็บ
สำหรับการสร้างเมนูเราต้องสร้างเมนูแบบ Custom Links ครับ
เข้าไปที่ Appearance > Menu > Custom Links > ที่ URL ให้ใส่โดเมนภาษาหลัก > Link text ให้ใส่ตัวย่อของภาษานั้นลงไป
ให้สร้างเมนูแบบ Custom Links มา 2 ชุด แล้วทำแบบนี้ทั้งบนเว็บที่เป็นโดเมนหลัก และเว็บที่เราจะทำเป็นภาษาที่ 2 ครับ
ดูผลลัพธ์ที่หน้าเว็บ ตอนนี้เราก็จะได้เว็บ 2 เว็บที่เชื่อมโยงกันแล้ว จากนั้นเราก็เข้าไปแปลภาษาของอีกเว็บเป็นอีกหนึ่งภาษา เช่น แปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น
4) วิธีเปลี่ยนตัวอักษรเป็นธงชาติ
อันดับแรกให้เราเตรียมรูปธงชาติของแต่ละภาษาไว้ ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นเราต้องแปลงรูปภาพให้เป็นโค้ด HTML เพื่อนำไปวางที่เมนู
วิธีแปลรูปภาพเป็น HTML
เข้าไป add new post > add media เพื่ออัพโหลดรูปเข้าเว็บ ย่อรูปให้เล็กลง > เลือก mode text > เราจะได้โค้ด HTML ของรูปภาพนั้นแล้วครับ
คัดลอก HTML ของรูปนี้เก็บไว้ก่อน
จากนั้นให้เราไปที่เมนูครับ วางโค้ดนี้ลงไปในส่วนของ Navigation Label ของเมนูนั้น
ทำแบบนี้ ทั้ง 2 เมนูภาษาที่เราได้สร้างไว้ จากนั้นลองไปดูหน้าเว็บของเราครับ
ให้ทำแบบเดียวกัน กับเว็บภาษาที่ 2 ที่เราได้สร้างไว้ที่ directory
เรียนออนไลน์ฟรี คอร์สเรียนสร้างเว็บ WordPress+Woocommerce
คลิกเข้าเรียนที่นี่- การจดโดเมนและเช่าโฮส
- การทำ HTTPS
- การติดตั้ง Wordpress
- การใช้ WordPress พื้นฐาน
- การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน Woocommerce
- การลงสินค้าประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าจัดส่งประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าชำระเงิน 3 แบบ
โอนเงิน paypal และบัตรเครดิต - การสร้างหน้าฟอร์มแจ้งชำระเงิน
- การสร้าง Contact Form
- การย้ายเว็บและการ backup เว็บ
- การติดตั้ง Google Analytic
และ Google Search Console
บทเรียนทั้งหมดนี้ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ฟรี โดยไม่ต้องสมัครเรียน
ความแตกต่างระหว่าง แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานนั้นเอง
พื้นฐานต้องแน่นก่อน ถึงจะสามารถต่อยอดทำเว็บให้ดีในอนาคตได้ครับ
สรุป
สำหรับผมการทำเว็บหลายภาษาบน WordPress แบบแยกเว็บ โดยไม่ใช่ปลั๊กอิน นั้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องอัพเดทปลั๊กอินแล้วเว็บจะพังอีกด้วย ถ้าเว็บคุณเป็นธุรกิจบริการ หรือขายสินค้าที่จำนวนชิ้นที่ไม่เยอะมาก การทำเว็บ 2 ภาษาแบบแยกเว็บคือวิธีที่สะดวกที่สุดครับ
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress + Woocommerce แบบมืออาชีพ ในวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน Woocommerce Expert แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
สร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ Woocommerce expert
- ค่าเรียน 9,500 บาท 21 - 22 สิงหาคม 2564
- เวลาเรียน 10.00- 16.00 น.
- เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 6 คนเท่านั้น (ว่าง)
- เราสอนด้วยธีม Flatsome Theme
(No.1 Best selling Woocommerce Theme 2020) - สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
คอร์สเรียนนี้เหมาะกับใคร ?
- เนื่องจากคอร์สเรียนนี้เราสอนเป็นกลุ่ม จึงไม่เหมาะกับทุกคน
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน WordPress มาบ้าง รู้พื้นฐานแบบงูๆปลาๆ หากคุณเคยลง WordPress เอง ลงปลั๊กอินได้ เคยสร้าง page หรือ post แบบนี้เรียนได้
- หรือหากคุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อนเลย แต่คุณมีทักษะไอที เช่น เคยใช้พวกโปรแกรมกราฟฟิค Photoshop, illustrator เคยใช้พวกโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ อะไรก็ได้มาบ้าง
- ถ้าคุณเคยใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าคุณมีทักษะไอที สามารถลงเรียนคอร์สนี้ได้
- เนื่องจากเราเรียนกันหลายคน หากผู้เรียนไม่มีทักษะไอทีเลยจะทำให้เรียนรู้ตามเพื่อนไม่ทันนั้นเอง
คอร์สเรียนนี้ไม่เหมาะกับใครบ้าง ?
- ผู้ที่ไม่มีทักษะด้านไอทีต่างๆ
- ผู้สูงวัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่คล่อง หรือหากรู้สึกว่าตัวเองเรียนรู้ได้ช้า คุณไม่เหมาะกับคอร์สเรียนนี้
- สำหรับคนที่ไม่มีทักษะด้านไอที หรือคิดว่าตนเองเรียนรู้ได้ช้า และชอบความเป็นส่วนตัว แต่ต้องการที่จะสร้างเว็บด้วยตนเอง
- ผมแนะนำให้ลงเรียนรอบสอนแบบตัวต่อตัวจะดีที่สุดครับ
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3