สำหรับกลยุทธ์ออนไลน์แล้ว เว็บไซต์ ถือเป็น “ร่างกาย” หลัก ส่วน เฟส ไลน์ ไอจี เป็น “แขนขา”
กลยุทธ์ออนไลน์ ประสิทธิภาพจะหาย ถ้าคุณ ไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง

WordPress คือ ระบบช่วยสร้างเว็บไซต์
ที่มีระบบจัดการเนื้อหาที่ใช้งานง่าย และได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

สำหรับกลยุทธ์ออนไลน์แล้ว เว็บไซต์ ถือเป็น “ร่างกาย” หลัก ส่วน เฟส ไลน์ ไอจี เป็น “แขนขา” กลยุทธ์ออนไลน์ ประสิทธิภาพจะหาย ถ้าคุณ ไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง

WordPress คือ ระบบช่วยสร้างเว็บไซต์ ที่มีระบบจัดการเนื้อหาที่ใช้งานง่าย และได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

Woocommerce Expert by พัดวี

เรียนรู้ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ WordPress สำหรับการทำเว็บร้านขายของออนไลน์ โดยเฉพาะ สอนวิธีสร้างเว็บตั้งแต่เริ่มต้น ที่ละขั้นตอนแบบละเอียด เรียนรู้วิธีมการใช้ปลั๊กอิน Woocommerce แบบมืออาชีพ เพื่อให้เว็บของคุณใช้งานจริงได้

 

What is Woocommerce

คอร์ส Woocommerce Expert นี้ เราสอนอะไรบ้าง

เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการสร้างเว็บ WordPress และการทำระบบตระกร้าขายของออนไลน์ สอนตั้งแต่เริ่มต้น ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน ก็สามารถเข้าเรียนได้ บทเรียนมากกว่า 50 คลิปวีดีโอ ความยาวเกิน 40 ชั่วโมง

ต้นทุนสำหรับ การสร้างเว็บด้วย WordPress มีเท่าไหร่

เว็บไซต์ คือ ร้านค้าบนโลกออนไลน์ ที่ไว้คอยเรียกลูกค้าให้แวะมาชอปปิ้งที่ร้านของเรา นั้นหมายความว่า หากคุณต้องการทำเว็บแล้วให้มันขายของได้ คุณต้องลงทุนเงิน เวลา การออกแบบ การตกแต่ง ให้ร้านค้าคุณน่าสนใจพอที่จะดึงผู้คนให้แวะมาเยี่ยมชม

ต้นทุนที่คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนลงมือสร้างเว็บมีดังนี้

  • ค่าโดเมน
  • ค่าเช่าโฮส
  • WordPress ฟรีหรือเสียเงิน
  • ค่าธีม
  • ค่าปลั๊กอิน
  • ค่าทำกราฟฟิค
  • ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บ

เครื่องมือที่ต้องใช้สร้างเว็บมีอะไรบ้าง

สำหรับเครื่องมือที่เราจะใช้ใน การสร้างเว็บไซต์ ร้านค้าขายของออนไลน์ ของบทความชุดนี้ ตัวที่เป็นระบบ หรือแพลตฟอร์มหลัก เราจะใช้ WordPress ในการสร้างเว็บกันครับ

WordPress คืออะไร?

สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก ผมแนะนำให้คุณดูคลิปวีดีโอนี้ครับ

WordPress คือ เว็บแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เรา สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ ด้านโปรแกรมเมอร์ ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่อง code ในการเขียนเว็บไซต์ ก็อาจจะดูคล้ายๆ กับ Window ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ ที่ช่วยให้เราใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย และสะดวกนั้นเอง

ตอนเริ่มแรกนั้น WordPress เป็นเครื่องมือที่ไว้สำหรับสร้าง Blog แต่ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนสามารถ เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างเป็นเว็บไซต์ได้ ในปัจจุบัน 35% ของเว็บไซต์ทั่วโลกสร้างด้วย WordPress

นอกจากเครื่องมือที่เรียกว่า WordPress เรายังต้องใช้เครื่องมืออีก 3 ตัว เพื่อมาทำงานร่วมกับ WordPress เพื่อช่วยให้คุณสามารถ สร้างเว็บไซต์ ร้านขายของออนไลน์ให้สามารถใช้งานจริงได้นั้นเอง เครื่องมือที่ว่ามีดังนี้

  • Woocommerce คือ ปลั๊กอินที่ช่วยแปลงร่างเว็บ WordPress ธรรมดาๆ ของคุณให้กลายเป็นเว็บร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ เราสามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรีๆ ได้อีกด้วย และในปัจจุบันจากสถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ของทั้งโลก 47% คือเว็บที่สร้างมาจาก Woocommerce
  • Theme คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับออกแบบ และจัดวาง layout หน้าตาเว็บไซต์ WordPress ของเราให้สวยงามในแบบที่เราต้องการ หากเราใช้งานธีมได้เก่งๆ เราจะสามารถออกแบบหน้าเว็บของเราอย่างไรก็ได้ ทุกไอเดีย หรือออกแบบเว็บเลียนแบบหน้าตาของเว็บที่เราชอบก็ได้
  • Plugin คือ เครื่องมือเพิ่มฟังชั่นการใช้งานเว็บ WordPress ของคุณ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจ หรือในสิ่งที่เราต้องการ

วิธีการจดโดเมน

โดเมน ก็คือ ชื่อเว็บไซต์นั่นเอง ชื่อโดเมน ก็เปรียบเหมือนชื่อบริษัท หรือชื่อร้านค้าของเรา จะซ้ำกับคนอื่นไม่ได้

จดโดเมน

หลักการตั้งชื่อโดเมน (ชื่อเว็บไซต์) มีดังนี้

  • ควรตั้งชื่อโดเมนให้ สั้น กระชับ เพื่อให้คนจดจำง่าย
  • ควรตั้งชื่อโดเมนเป็นภาษาอังกฤษ
  • ควรตั้งชื่อที่ออกเสียงแล้วฟังง่ายๆ ด้วย
  • ตั้งชื่อให้สื่อความหมายถึงสิ่งที่เราทำ (ถ้าทำได้)
  • อย่าตั้งชื่อโดเมนที่สะกดคำยาก หรือพิมพ์ยาก
  • ไม่ควรมีเครื่องหมายขีด( – ) เช่อน my-domain.com เพราะอาจทำให้คนสับสน หรือพิมพ์ผิดได้
  • เลือกใช้นามสกุล .com เพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถ้าจดไม่ได้ก็ไม่เป็นไร (เพราะมีคนจดชื่อนี้ไปแล้ว) ไปหานามสกุลอื่น ๆ ได้ไม่มีปัญหา แต่อย่าใช้นามสกุลที่ดูแปลกตาจนเกินไป

วิธีการเลือกและเช่าโฮส

โฮสติ้ง ก็คือพื้นที่ ที่ใช้เก็บรูป ข้อมูล ไฟล์ต่างๆ เพื่อใช้แสดงเว็บของเรา ก็จะเปรียบเหมือนที่ตั้งร้านค้า ที่เราต้องไปเช่าเขานั่นเองครับ

ว็บจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ดี โฮสมีส่วนสำคัญอยู่ไม่น้อย ก่อนที่เราจะเลือกใช้บริการโฮสติ้งกับเจ้าไหนดี สิ่งที่เราต้องรู้ก่อน ก็คือ ตัวโฮสติ้งที่ WordPress แนะนำมีเสปคอย่างไรบ้าง แต่การอธิบายเรื่องโฮสส่วนใหญ่มีแต่คำศัพท์ทางเทคนิค โดยสรุปย่อ ผมมีคำแนะนำสำหรับการเลือกโฮสดังนี้ครับ

  • หากเป็นมือใหม่ควรใช้โฮสไทยครับ หากติดขัดอะไรจะได้คุยกับโฮสได้รู้เรื่อง
  • ระบบจัดการหลังบ้านโฮส (control panel) ควรเป็น DirectAdmin
  • เวอร์ชั่น PHP web server ควรใช้เวอร์ชั่น PHP 7.3 ขึ้นไป
  • ในตัว control panel ควรมี Auto installer ช่วยติดตั้ง WordPress ด้วย ตัวที่โฮสควรมี ก็เช่น Softaculous คือ ถ้าโฮสที่เราใช้มีเจ้าตัวนี้อยู่ เราจะสามารถลง WordPress เองได้ง่ายมาก เราจะได้ไม่ต้องสร้าง database เอง ไม่ต้อง FTP ไฟล์ต่างๆ ด้วย
  • โฮสควรมีบริการ Let’s Encrypt – Free SSL/TLS Certificates เพื่อให้เราสามารถทำเว็บเป็น HTTPS ได้ฟรี
  • แพคเกจของโฮสไม่ควรจำกัดโดเมนและซับโดเมน (เพราะเราต้องทำกันหลายเว็บ)
  • ส่วนพื้นที่ของโฮสเราไม่ต้องกลัวเต็มครับ เลือกมาสักแพคเกจได้เลย โดยเฉลี่ยเว็บที่ทำด้วย WordPress ที่ขนาดเล็กถึงกลาง หากเราทำเว็บได้ถูกต้องเว็บเราจะใหญ่ไม่เกิน 500 MB ครับ
  • และอีกเรื่องคือเรื่อง bandwidth ส่งข้อมูลเน็ตออกไปต่างประเทศ ถ้าโฮสไหนเน็ตออกต่างประเทศไม่ค่อยดีจะเกิดปัญหาที่พบเจอบ่อยที่สุด คือการ แชร์ลิงค์เฟสบุ๊ค แล้วรูปไม่ขึ้นนั้นเอง ตรงจุดนี้บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าโฮสเจ้าไหนเน็ตนอกดีหรือไม่ดี จนกว่าจะได้เช่าโฮสมาลองใช้ดูครับ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้: Hosting WordPress ที่ไหนดี แนะนำหลักการเลือกโฮสติ้งสำหรับ WordPress

ตั้งค่า namesaver

nameserver ก็เหมือนบ้านเลขที่ ทุกโฮสติ้งจะมีเลขที่บ้าน อยากให้โดเมนที่เราจดไว้มาแสดงที่โฮสไหน ต้องตั้งค่า nameserver (บ้านเลขที่) ก่อน เพราะบางครั้งเราอาจจะจดโดเมนที่นึง แต่ใช้โฮสติ้ง อีกเจ้านึงนั้นเอง

ตั้งค่า namesaver

 

การทำ https

ทำเว็บให้เป็น HTTPS คือ การเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครับ เราจะสังเกตเห็นว่าเว็บไหนที่เขาเข้ารหัสไว้ มันจะมีการแสดงรูปแม่กุญแจเอาไว้บน browser ลองดูจากรูปตัวอย่างนะครับ

การทำ https

ทำเว็บให้เป็น HTTPS ดียังไง?

การทำเว็บเราให้เป็น https:// อาจช่วยให้ google มองว่าเว็บเรามีคุณภาพ ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า การจัดอันดับเว็บเราก็จะดีขึ้นได้ครับ หากเปรียบเทียบกับเว็บที่คล้ายกัน แต่เขาไม่ได้เข้ารหัสเว็บเอาไว้ โดยแนวโน้มผมเชื่อว่า google จะให้น้ำหนักเกี่ยวกับการทำเว็บให้ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นด้วย

วิธีติดตั้ง WordPress

การติดตั้ง WordPress แต่ละโฮสติ้ง จะมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยไม่เหมือนกัน แต่หลักการก็จะคล้ายๆ กันสามารถเอาไปปรับใช้กับโฮสเจ้าอื่นก็ได้นั้นเอง

คู่มือการใช้งาน Plesk

พื้นฐานการใช้งาน WordPress

ตอนนี้ทุกคนก็ได้เว็บมากันเป็นที่เรียบร้อย อันดับต่อมา เราก็ต้องมาเรียนรู้วิธีการใช้งาน WordPress ว่าเขาจะใช้งานยังไงได้บ้าง ยาก หรือง่าย ซึ่งวิธีการใช้งานเนื้อหาค่อนข้างเยอะพอสมควร

wp101

เนื้อหาหลักๆ ที่คุณจำเป็นต้องรู้สำหรับการใช้งาน WordPress 

  • WordPress คืออะไร?
  • วิธีเข้าสู่ระบบหลังบ้าน (Dashboard)
  • ติดตั้งปลั๊กอิน Classic editor
  • ตั้งค่าเริ่มต้นก่อนการใช้งาน
  • วิธีการเพิ่มเนื้อหาหน้าเว็บ (ใช้งาน Page/Post)
  • วิธีกำหนดหน้า home
  • การสร้างเมนู
  • ทำความรู้จัก Sidebar
  • การใช้งาน widget
  • ทำความรู้จัก footer
  • การเพิ่ม plugin (ปลั๊กอิน)
  • การเปลี่ยน Theme

ตั้งค่าใช้งานพื้นฐาน WordPress

วิธีการเพิ่มเนื้อหาบนหน้าเว็บ (ใช้งาน Page/Post)

วิธีกำหนดหน้า homepage และหน้า blog

การสร้างเมนู บนเว็บ WordPress

ทำความรู้จัก Sidebar Footer และ Widget

หลักการเลือกธีม

90 % ของเว็บ WordPress ที่ทำระบบตระกร้านสินค้าใช้ปลั๊กอิน Woocommerce ในการทำทั้งสิ้น นั้นหมายความว่า หากตัว Woocommerce ออกเวอร์ชั่นใหม่ ระบบต่างอาจมีเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยมาก ธีมที่ดีต้องมีการอัพเดทให้ใช้งานร่วมกับ Woocommerce ด้วย

หลักการเลือกธีม

คำแนะนำหลักการเลือกธีม สำหรับการสร้างเว็บ ร้านค้าออนไลน์ มีดังนี้

  •  ควรใช้พรีเมี่ยมธีม (ธีมตัวเสียเงิน) ธีมฟรีจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ และไม่มีความยืดหยุ่น จะออกแนวเว็บสำเร็จรูป เราไม่สามารถปรับแต่งตามใจ หรือตามไอเดียที่เรามีได้แต่หากเราเลือกใช้ธีมตัวเสียเงิน อารมณ์การใช้งาน จะเปรียบเหมือนเราซื้อตัวต่อเลโก้ เราซื้อ 1 ธีม เราก็จะได้ชิ้นส่วนมา 1 ถุง หน้าที่ของเราคือเอาชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบเป็นเว็บให้มีหน้าตาแบบใดก็ได้ ตามไอเดียของเราได้หมด เหมือนกับเราต่อตัวต่อเลโก้ให้มีรูปร่างอะไรก็ได้นั้นเอง
  • มีการอัพเดทอยู่เสมอ ธีมที่ดีควรมีการอัพเดทล่าสุดให้สามารถใช้งานบน WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+)
  • มียอดขายพอสมควร ทุกคนสามารถทำธีมแล้วเอาไปลงขายที่ ThemeForest ได้หมด แต่ไม่ใช่ทุกธีมที่วางขายบน ThemeForest แล้วจะขายดี ในหลายๆ ธีมหากไม่ค่อยมียอดขาย ผู้สร้างธีมมักหยุดพัฒนาธีม หรืออัพเดทธีมในรองรับ WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นใหม่ๆ หากเราใช้ธีมนั้นๆ ต่อไป ก็มีความเสี่ยงสูงว่าเว็บเราจะใช้งานไม่ได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเอง
  • มีคลิปสอนการ setup ธีม บน YouTube การทำเว็บ WordPress นั้นไม่ยาก เราไม่ต้องเขียนโค้ด แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะมันมีรายละเอียดที่เยอะมาก และแต่ละธีมมีการ Setup ที่ไม่เหมือนกันเลย หากเราจะซื้อธีมไหน ลองเอาชื่อธีมนั้นไปเสริจหาบน Youtube ดู ถ้าธีมนั้นมีคลิปสอน ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้การทำเว็บได้เร็วขึ้นนั้นเอง
  • มี Facebook Group ช่วย ถาม-ตอบ ในบางธีม เขาจะสร้าง Facebook Group เพื่อคอย Support คนที่ใช้ธีมเดียวกัน ติดขัดตรงไหนเราก็สามารถไปตั้งกระทู้ถามได้เลย แต่มีแค่บางธีมนะที่มี
  • แหล่งซื้อธีมคุณภาพ themeforest.net

Flatsome The #1 Best selling WooCommerce theme

Flatsome คือ ธีมที่มีฟังชั่นสมบูรณ์แบบเหมาะสำหรับการทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ หรือนำไปสร้างเว็บไซต์บริษัทของคุณ หรือหากคุณเป็นฟรีแลนซ์ หรือเป็น Agency ธีมนี้ก็เหมาะมากที่จะนำไปสร้างเว็บให้ลูกค้าของคุณด้วยเช่นกัน

theme-wordpress-flatsome

ธีม Flatsome มีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างเว็บที่หลากหลายไอเดีย ใช้งานง่าย เป็นธีมที่เบา ช่วยให้เว็บของคุณเปิดได้เร็วขึ้นอีกด้วย คุณสามารถนำธีมนี้ไปออกแบบสร้าเว็บไซต์อะไรก็ได้ โดยที่คุณไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ คุณก็สามารถสร้างเว็บด้วยตนเองได้ง่ายๆ

ทำไมควรใช้ธีม FLATSOME ในการสร้างเว็บไซต์

Revolutionary
Drag & Drop Page Builder

มี Page Builder เป็นของตัวเอง และแสดงผลแบบ Live Preview ทำให้เบาและเสถียรกว่าธีมที่ต้องนำ Page Builder ข้างนอกมาใช้งาน คุณสามารถสร้าง Slider, สร้าง Grid และ Effect ต่างๆได้โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กอินเพิ่มเติมเลย

Customize anything with Live Theme Options.

Flatsome มีเครื่องมือช่วยปรับแต่งเว็บไซต์มากมาย แสดงผลแบบ Live Preview ทำให้ใช้งานง่าย และที่ Theme Option เราสามารถปรับแต่งได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทำให้เราออกแบบเว็บได้อย่างสวยงาม และไม่ซ้ำใคร

New features regularly and always up to date.

ธีม Flatsome มีการพัฒนาและเพิ่มฟังชั่นใหม่ๆ อยู่ตลอดใน 4 ปีที่ผ่านมาด้วยนักพัฒนาธีมระดับโลก คุณมั่นใจได้ว่าธีมนี้จะถูกอัพเดทให้ทันสมัย และรองรับการทำงานบน WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ

การสร้างระบบตระกร้าสินค้า (Woocommerce)

Woocommerce คือ ปลั๊กอินสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่ช่วยให้คนธรรมดา เริ่มต้นสร้างเว็บขายของด้วยตนเองได้ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าเขาจะใช้งานง่าย แต่ในความง่ายก็ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร หากเราพื้นฐานไม่ดี จากเรื่องง่ายๆ อาจกลายเป็นเรื่องยากได้นั้นเอง

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบตระกร้าสินค้า Woocommerce ดังนี้

  1. การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน
  2. การลงสินค้าประเภทต่างๆ
  3. การตั้งค่าจัดส่ง
  4. ช่องทางชำระเงินต่างๆ
  5. สร้างฟอร์มแจ้งชำระเงิน
  6. การจัดการ order สินค้า
  7. จัดการเรื่องสต๊อคสินค้า
  8. จัดการระบบสมาชิก
  9. การทำคูปองส่งเสริมการขาย
  10. ทำ Facebook Login
  11. seo บน Woocommerce
  12. ทำปุ่ม Livechat
  13. แก้ไขคำภาษาไทย ที่ยังไม่ถูกแปล
  14. แก้ปัญหา Woocommerce ส่งเมล์ไม่ได้ ตกถังขยะ เป็น spam

การชำระผ่านบัตรเครดิต

บทเรียนนี้จะพูดถึงเรื่อง การชำระเงิน Woocommerce เป็นหลัก ซึ่งเราสามารถตั้งค่าวิธีการชำระเงิน ได้หลายแบบมาก แต่ Woocommerce ที่เป็นตัวฟรี เราสามารถตั้งค่า ได้ 3 รูปแบบหลักๆ คือ

  • การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
  • การชำระผ่านบัญชี Paypal
  • การชำระผ่านบัตรเครดิต

การจะสร้างระบบชำระเงินผ่านเครดิต บนเว็บของเรา เราต้องอาศัย Payment Gateway เป็นตัวกลาง Payment Gateway ที่ผมขอแนะนำในบทความนี้ คือ ให้เราใช้บริการกับ Omise

ทำระบบ Catalog Mode คืออะไร

การทำ Catalog Mode คือ การลงสินค้าบน Woocommerce แต่ปิดระบบหยิบใส่ตระกร้า สินค้าบนเว็บเว็บจะวางไว้เหมือนเป็น catalog โชว์สินค้าอย่างเดียว หากมีคนสนใจ เราจะให้ลูกค้าติดต่อผ่านไลน์ หรือเฟสบุ๊คอีกที

การทำ Catalog Mode เหมาะกับสินค้าประเภทขายส่ง ที่ต้องต่อรองราคา หรือสินค้าที่มีมูลค่าสูงๆ ที่ต้องเห็นตัวสินค้าจริงๆ ก่อนชำระเงิน เป็นต้น

การดูแลเว็บไซต์ให้ปลอดภัย

ในแต่ละสัปดาห์ Google จะตรวจสอบพบเว็บไซต์ที่ติดมัลแวร์ประมาณ 20,000 เว็บ (Website Hacked Trend Report) หากคุณไม่อยากให้เว็บคุณเป็นหนึ่งในนั้น การดูแลเว็บไซต์ WordPress ของคุณให้ปลอดภัยเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

ดูแลเว็บไซต์

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำเกี่ยวกับการดูแลเว็บไซต์ให้ปลอดภัยมีดังนี้

  • อัพเดท WordPress, Theme, Plugin สม่ำเสมอ
  • อย่าตั้ง username และ password ให้ง่ายเงินไป
  • ติดตั้งปลั๊กอินรักษาความปลอดภัยที่จำเป็น
  • เลือกโฮสที่น่าเชื่อถือ
  • Backup Backup และ Backup
  • เว็บที่โดนแฮค หรือติดมัลแวร์จะเป็นยังไง
  • วิธีการแก้ไขเมื่อเว็บโดนแฮค

วิธีเชื่อมต่อ Google Analytics

สิ่งที่คุณต้องทำต่อ หลังจากที่สร้างเว็บเสร็จแล้ว คือ “การวัดผลลัพธ์” เว็บที่คุณลงทุน ลงแรง ลงเงิน มานั้น สามารถพาคน (traffic) เข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดพลลัพธ์ต่างๆ จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ Google Analytics กับ Google Search Console

Google Analytic คืออะไร ใช้วัดผลอะไร?

Google Analytics คือ เครื่องมือฟรีของ Google ที่ช่วยเจ้าของเว็บไซต์ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ปรับปรุงในส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การซื้อโฆษณา การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์สนใจ เช่น สินค้า บริการ รวมถึงเนื้อหาต่างบนเว็บไซต์ของเรา

Google Analytic ใช้วัดผลอะไรบ้าง

  • จำนวนคนเข้าเว็บไซต์เท่าไร?
  • ใครเข้ามาเว็บไซต์ของเรา ผู้หญิง ผู้ชาย ช่วงอายุ และความสนใจ ฯลฯ
  • เว็บไซต์เราคนเข้าผ่านทางไหนมากที่สุด? (mobile, desktop หรือ tablet)
  • คนเข้ามาจากช่องทางไหนมากที่สุด?
    (Google, Facebook, เข้ามาแบบ organic หรือเข้ามาผ่านการลงโฆษณา)
  • เมื่อคนเข้ามาเกิด action ที่เราตั้งไว้ (goals) หรือไม่?
  • คอนเท้นท์ไหนบนเว็บไซต์เราคนชอบมากที่สุด?

เทคนิคการทำตลาดดอนไลน์

เว็บไซต์คือร้านค้า หลังจากคุณสร้างร้านค้าเสร็จแล้ว ไม่ได้การันตีว่า จะมีคนเข้ามาเจอสินค้าบนเว็บของคุณ

ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำต่อ คือการทำการตลาดออนไลน์นั้นเอง ซึ่งหลักการตลาดบนโลกออนไลน์ กับ ออฟไลน์ นั้น มีกลยุทธ์ ที่แตกต่างกัน

ในบทเรียนนี้จะมาแนะนำหลักการเบื้องต้น สำหรับการทำตลาดออนไลน์อย่างถูกต้องครับ

วิธีการสร้างเว็บไซต์ [ฉบับอัพเดท 2021]

ถ้าคุณทำตามบทเรียนนี้มาจนจบ คุณน่าจะพอมองเห็นแล้วว่าการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ นั้นไม่ยาก ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ก็สามารสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเองได้

แต่ปัญหาน่าจะมีอยู่จุดที่ทำให้หลายๆคน ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างเว็บ ก็คือ มันมีรายละเอียดเยอะมาก ทำให้หลายๆ คนยอมแพ้ไปก่อนนั้นเอง การทำเว็บไซต์มันจะยากแค่ช่วงแรกเท่านั้น หากคุณอดทนฝึกทำไปเรื่อยๆ ในไม่ช้าคุณก็จะได้เว็บที่สามารถใช้งานจริงได้อย่างแน่นอนครับผม

เครื่องมือที่เราใช้สอน

ตัวอย่างเว็บไซต์ผลงานนักเรียน

คอร์สเรียนสร้างเว็บขายของออนไลน์

สร้างเว็บขายของออนไลน์
ด้วย WordPress + Woocommerce

สำหรับผู้ที่สนใจ
สามารถซื้อคอร์สเรียนในราคาพิเศษเพียง 2,000 บาท

4,500 บาท 2,000 บาท

สมัครเรียนคอร์สนี้

**หมายเหตุ นักเรียนเก่าที่เคยเรียนทำเว็บรอบสอนกลุ่ม 2 วัน หรือเรียนรอบกลุ่ม 3 วัน มาแล้ว ร่วมถึงนักเรียนที่เคยเรียนรอบส่วนตัว เข้าเรียนคอร์สออนไลน์นี้ฟรีทุกคนครับ ให้ทักหาผมมาที่ Line เพื่อรับรหัส login เข้าสู่ระบบได้เลย แต่ว่ายังไม่ต้องทักมาตอนนี้นะ ให้ทักมาช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปครับ

บรรยากาศคลาสเรียนรอบสอนสด

แผนที่สถานที่เรียน SEO (รอบสอนกลุ่ม)

สถานที่เรียน Seatz Station

ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3

คำถามที่พบบ่อย

ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนหรือไม่

ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่อง SEO หรือเรื่องการทำเว็บมาก่อน เพราะคอร์สนี้เราสอนตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงระดับ Advance

หมายความว่า หากคุณไม่มีพื้นฐานอะไรเลยก็สามารถลงเรียนได้ หรือหากคุณพอมีพื้นฐานเรื่อง SEO อยู่แล้ว ก็สามารถลงเรียนได้เช่นกัน เพื่อจะได้นำความรู้ในคอร์สเรียนนี้ มาใช้ต่อยอดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ SEO บนเว็บไซต์ของคุณ

การทำ SEO นั้นเป็นหลักการสากล สามารถนำความรู้จากคอร์สเรียนนี้ ไปปรับใช้ได้กับเว็บทุกประเภทครับ

หากคุณเรียนคอร์สนี้จบแล้ว จุดไหนที่ยังไม่เข้าใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมจากผู้สอนได้โดยตรงผ่านทาง Line id: padveewebschool ได้เลยครับ

แต่ผมขอจำกัดระยะเวลาในการสอบถามเพิ่มเติมได้เพียงคนละ 3 เดือน นับจากวันที่ลงเรียนคอร์สนี้ครับ