Refresh

This website padveewebschool.com/link-attribute/ is currently offline. Cloudflare's Always Online™ shows a snapshot of this web page from the Internet Archive's Wayback Machine. To check for the live version, click Refresh.

Nofollow, Sponsored, และ UGC Links ใช้งานตอนไหน มีวิธีทำอย่างไร

link attribute

ลิงก์ (Link) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ เปรียบเสมือนการบอก Google ว่าเว็บไซต์ใดมีความเกี่ยวข้องกัน ลิงก์จึงมีบทบาทสำคัญต่อ SEO

ตั้งแต่ปี 2019 Google ได้มีการกำหนดลักษณะของลิงก์ เป็น 3 รูปแบบคือ Nofollow, Sponsored, และ UGC Links ซึ่งลิงก์แต่ละประเภทมีวิธีการใช้แตกต่างกัน และหลังจากการอัพเดท March 2024 core update Google เริ่มมีมาตรการลงโทษเว็บที่ใส่ลิงก์ผิดประเภท ทำให้มีหลายๆ เว็บอันดับตก หรือ Traffic ลดลง

เมื่อ Google อัพเดทกฎเกณฑ์ต่างๆ คนทำ SEO ก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย ในบทความนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการใช้งานลิงก์ประเภทต่างๆ อย่างถูกต้อง แต่ละลิงก์ต้องใช้ตอนไหน และมีวิธีทำอย่างไร

Nofollow link ความหมายและวิธีใช้

Nofollow link คืออะไร

Nofollow link คือ ลิงก์ที่มีการใส่ attribute rel=”nofollow” ใน HTML ซึ่งเป็นการบอก Google ว่า “ไม่ต้องติดตามลิงก์นี้”

ผลของ Nofollow Link:

  • Google จะไม่ “ติดตาม” ลิงก์นี้ หมายความว่า Googlebot จะไม่คลิกผ่านลิงก์นี้ไปยังหน้าเว็บปลายทาง
  • Google จะไม่ “ส่งต่อ” PageRank ผ่านลิงก์นี้ หมายความว่า หน้าเว็บปลายทางจะไม่ได้รับคะแนน SEO จากหน้าเว็บต้นทาง

ทำไมจึงต้องใช้ Nofollow Link?

  • เพื่อป้องกันการ “ซื้อขายลิงก์” (link buying)
  • เพื่อป้องกัน “สแปมลิงก์” (link spam)
  • เพื่อบอก Google ว่า “ไม่ต้องให้ความสำคัญ” กับลิงก์นี้
  • เพื่อ “ควบคุม PageRank” ของเว็บไซต์

ตัวอย่างการใช้งาน Nofollow Link:

  • ลิงก์ต่างๆ ที่อยู่ใน “ความคิดเห็น” (comment) บนบล็อก
  • ลิงก์ที่ออกไปยัง “โซเชียลมีเดีย” (social media)
  • ลิงก์ที่ออกไปหาสิ่งที่ไม่ใช่เว็บไซต์ เช่น ลิงก์ไปยังไฟล์ PDF ลิงก์ไปยังรูปภาพ ลิงก์ไปยัง JavaScript
  • ลิงก์ที่ออกไปยังเว็บปลายทาง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บของเรา

ลิงก์ที่อยู่ใน comment ลิงก์ที่ออกไป social media หรือออกไปหาสิ่งที่ไม่ใช่เว็บไซต์ แบบนี้มันชัดเจน พวกเรารู้แล้วว่าต้องทำ  Nofollow Link แน่นอน

แต่ลิงก์ที่ออกไปยังเว็บปลายทาง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บของเรา นั้นเราจะทำตอนไหน ผมจะยกตัวอย่างหน้าเว็บของผมให้ดู พวกเราคลิกเข้าไปที่หน้า รับทำเว็บไซต์ WordPress บนเว็บของผมนะ

เนื้อหาหน้านี้ ผมพูดถึงเรื่องบริการรับทำเว็บไซต์ ว่าผมมีบริการรับทำเว็บแบบไหนบ้าง และผมมีการแสดงตัวอย่างผลงานการทำเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งผมแสดงตัวอย่างไว้ประมาณ 36 เว็บไซต์ และผมได้มีการใส่ลิงก์ออกไปยังหน้าเว็บปลายทางทั้งหมด

ซึ่งลิงก์ที่ออกไปยังเว็บต่างๆ เหล่านี้แหละ เราเรียกว่า “ลิงก์ที่ออกไปยังเว็บปลายทาง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บ” ดังนั้นลิงก์ทั้ง 36 อันนี้ ผมต้องเลือกใช้ลิงก์ประเภท Nofollow Link เพื่อควบคุม Page Rank ของหน้านั้นไม่ให้หลุดไปที่อื่นเยอะเกินไป รวมถึงการป้องกันไม่ให้ Google มองว่าเรากำลังทำ spam backlink ด้วย

วิธีการทำ Nofollow Link:

ใส่ attribute rel=“nofollow” ใน HTML ของลิงก์ เช่น:

<a href=“https://www.example.com/” rel=“nofollow”>This is a nofollow link</a>

Sponsored link ความหมายและวิธีใช้

Sponsored link คืออะไร?

Sponsored link คือ ลิงก์ที่มีการใส่ attribute rel=”sponsored” ใน HTML ซึ่งเป็นการบอก Google ว่า “ลิงก์นี้เป็นโฆษณา”

ผลของ Sponsored Link:

  • Google จะ “รับรู้” ว่าลิงก์นี้เป็น “โฆษณา”
  • Google จะไม่ “ส่งต่อ” PageRank ผ่านลิงก์นี้

ทำไมจึงต้องใช้ Sponsored Link?

  • เพื่อ “บอก Google” ว่าลิงก์นี้เป็น “โฆษณา”
  • เพื่อ “ป้องกัน” การ “บิดเบือน” อัลกอริทึมของ Google
  • เพื่อ “ปฏิบัติตาม” กฎของ Google ไม่ให้เว็บเราถูกมองว่าเป็นแสปม

ตัวอย่างการใช้งาน Sponsored Link:

  • ลิงก์ใน “บทความ sponsored”
  • ลิงก์ใน “แบนเนอร์โฆษณา”
  • ลิงก์ใน “รีวิวสินค้า” ที่มีค่าตอบแทน
  • ลิงก์ affiliate ทุกชนิด

วิธีการทำ Sponsored Link:

ใส่ attribute rel=“sponsored” ใน HTML ของลิงก์ เช่น:

<a href=“https://www.example.com/” rel=“sponsored”>This is a sponsored link</a>

UGC link ความหมายและวิธีใช้

UGC link คืออะไร?

UGC link คือ ลิงก์ที่มีการใส่ attribute rel=”ugc” ใน HTML ซึ่งเป็นการบอก Google ว่า “ลิงก์นี้ถูกสร้างโดยผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ใช่ผู้ดูแลเว็บนั้นๆ”

ในบางเว็บจะมีบริการให้คนทั่วไป สามารถเข้ามาช่วยกันผลิตคอนเทนต์ร่วมกันได้ คนที่ไม่ใช่ผู้ดูแลเว็บ เมื่อมีการเข้าไปผลิตคอนเทนต์ หรือทำบทความบนเว็บใดๆ ก็ตามต้องทำให้ลิงก์นั้นๆ เป็น UGC link เสมอ

ผลของ UGC Link:

  • Google จะ “รับรู้” ว่าลิงก์นี้ถูก “สร้างโดยผู้ใช้งานอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเว็บ”
  • Google อาจ “ให้ความสำคัญ” กับลิงก์นี้ “น้อยกว่า” ลิงก์ทั่วไป
  • Google อาจ “ไม่ส่งต่อ” PageRank ผ่านลิงก์นี้

ทำไมจึงต้องใช้ UGC Link?

  • เพื่อ “บอก Google” ว่าลิงก์นี้ถูก “สร้างโดยผู้ใช้”
  • เพื่อ “ป้องกัน” การ “บิดเบือน” อัลกอริทึมของ Google
  • เพื่อ “ปฏิบัติตาม” กฎของ Google ป้องกันไม่ให้เว็บเราดูเป็นแสปม

เว็บที่เปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปสมัครเป็นสมาชิกแล้วสามารถเขียนบทความได้เอง มักจะเป็นช่องทางให้คนมาทำ Spam backlink โจมตีเว็บคนอื่น หรือเพื่อปั่น Backlink เว็บตัวเอง รวมถึงเป็นแหล่งเอาไว้ทำสิ่งที่เรียกว่า Parasite SEO ที่ใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง (ให้นึกถึงพวกเห็บหมัดที่เกาะสัตว์ต่างๆ เพื่อดูดเลือด)

ทำให้ อัลกอริทึมของ Google ที่ใช้ในการจัดอันดับหน้าเว็บถูกบิดเบือน หลายๆบทความก็คัดลอกมาจากเว็บเล็กๆ อีกที แต่เว็บเล็กๆ ที่เป็นต้นฉบับไม่ติดอันดับ Google กลับไปเลือกบทความเดียวกันจากเว็บใหญ่ๆ แทน

ตัวอย่างการใช้งาน UGC Link:

  • ลิงก์ใน “ความคิดเห็น” (comment) บนบล็อก
  • ลิงก์ใน “รีวิวสินค้า” โดยผู้ใช้
  • ลิงก์ใน “บทความ” ที่สร้างโดยผู้ใช้งานทั่วไป

วิธีการทำ UGC Link:

ใส่ attribute rel=“ugc” ใน HTML ของลิงก์ เช่น:

<a href=“https://www.example.com/” rel=“ugc”>This is a UGC link</a>

วิธีการตั้งค่าลิงก์ประเภทต่างๆ บน WordPress

เนื้อหาที่ผ่านมาทำให้พวกเรารู้จักลิงก์ประเภทต่างๆ และแยกออกแล้วว่าจุดไหนบนเว็บของเราควรใช้ลิงก์ประเภทไหน ในหัวข้อนี้เราจะมาสอนวิธีการกำหนดค่าของลิงก์ (attribute rel) บนเว็บจริงๆ ว่ามีวิธีการอย่างไร

ตั้งค่าลิงก์บน Element บน Page builder ต่างๆ

คือการตั้งค่าประเภทของลิงก์ลงไปบนชิ้นส่วน button / Banner / image ซึ่งทั้ง 3 ชิ้นส่วนก็จะมีช่องให้เราตั้งค่า attribute rel จุดนี้เราทำไม่ยาก เพราะทุก Page builder เตรียมฟังชั่นนี้ไว้แล้วนั้นเอง

ดูตัวอย่างรูปด้านล่างนี้

ในชิ้นส่วน image box ผมมีการทำลิงก์ออกไปที่เว็บอื่น ตรงจุดที่ให้เราใส่ลิงก์ ดูที่ด้านล่างเราจะเจอช่อง Rel ในช่องนี้แหละให้เราใส่ค่าลิงก์ประเภทต่างๆ ลงไป เช่น ในรูปคือใส่คำว่า nofollow ก็คือการทำลิงก์นั้นเป็น nofollow นั้นเอง

ตั้งค่าลิงก์บน HTML

ถ้าใครใช้ classic editor ก็แทรกค่า rel= “..” ของลิงกที่ต้องการตามรูปได้เลย

ถ้าใครใช้ Gutenberg editor ก็จะทำได้ 2 แบบ

คลิก edit ลิงก์ แล้วเลือก advance จะช่องให้เลือกการตั้งค่าลิงก์ประเภทต่างๆ

แก้ประเภทลิงก์ผ่าน HTML ก็คลิกเลือกตามรูปได้เลย และไปแทรกค่า rel= “..” ของลิงก์ที่ต้องการลงไป

ถ้าใครใช้ธีม Flatsome ในชิ้นส่วน text เราคลิกไป 1 ครั้งมันจะเปลี่ยนเป็นโหมด HTML เราก็แก้ไขลิงก์เป็นแบบที่ต้องการได้เลย

สรุป

หากเว็บเราหน้าไหนมีลิงก์ออกเยอะ เราต้องระบุประเภทของลิงก์ให้ชัดเจน ถ้าลิงก์นั้นไม่ใช่ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหา ให้ระบุไปเลยว่าลิงก์นั้นเป็นลิงก์อะไร

  • ถ้าลิงก์นั้นเป็นลิงก์ที่ทำเพื่ออธิบายคำศัพท์เฉพาะ เชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นลิงที่เอาไว้บอกที่มาของข้อมูล แบบนี้ ให้ทำลิงก์ตามปกติ ไม่ต้องระบุ tag ปล่อยลิงก์เป็น dofollow ตามปกติ
  • ลิงก์ไหนคือ affiliate ควรใส่แท็ก rel=”sponsored” ลงไปเลย
  • ลิงก์ไหนที่คนอื่นจ้างเรามาให้ช่วยรีวิว ก็ควรใส่แท็ก rel=”sponsored”
  • ลิงกที่มาจากเนื้อหาที่สร้างจากผู้ใช้งานทัวไปที่ไม่ใช่ admin เป็นแค่ระดับสมาชิกบนเว็บ ให้ใส่แท็ก rel=”ugc”
  • ส่วนลิงก์ที่ควรใช้ rel=”nofollow” คือลิงก์ที่ออกไปหาสิ่งที่ไม่ใช่เว็บไซต์ เช่น ลิงก์ไปยังไฟล์ PDF ลิงก์ไปยังรูปภาพ ลิงก์ไปยัง JavaScript
  • ลิงก์ออกไป social media ก็ควรทำเป็น rel=”nofollow” ด้วย
  • แต่ก็ไม่ควรตั้งค่าให้ทุกลิงก์ให้เป็น rel=”nofollow” แบบนี้ก็ถือว่าผิดธรรมชาตินั้นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *