Refresh

This website padveewebschool.com/plesk-tutorial/ is currently offline. Cloudflare's Always Online™ shows a snapshot of this web page from the Internet Archive's Wayback Machine. To check for the live version, click Refresh.

คู่มือใช้งาน Plesk Control panel สำหรับผู้ใช้ WordPress โดยเฉพาะ

ใช้งาน Plesk

Plesk คือ control panel ที่ช่วยเราบริหารและจัดการกับ Web hosting ได้ง่ายขึ้น และมี layout หน้าตาที่สวยงาม บทความนี้จะเน้นสอนการใช้งาน Plesk ในจุดที่เกี่ยวกับข้องกับ WordPress เป็นหลัก

สารบัญเนื้อหา

  1. Control panel ยอดนิยม
  2. การเข้าสู่ระบบ Plesk
  3. วิธีการเพิ่มโดเมน
  4. วิธีสร้าง Sub domain
  5. วิธีลง WordPress
  6. วิธีการเปลี่ยน PHP Version
  7. วิธีการติดตั้ง SSL by Let’s Encryption บน Plesk
  8. การทำ Search engine no indexing

1. Control panel ยอดนิยม

Hosting Control panel คือ ระบบบริหารจัดการเว็บโฮสติ้ง เป็นตัวช่วยให้เราทำการสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำหน้าที่หลักๆ เช่น เพิ่มโดเมน สร้างซับโดเมน หรือแม้ทั้งเป็นตัวช่วยสำหรับการลง WordPress

ซึ่ง Control panel ที่นิยมกันทั่วโลก จะมีอยู่ 3 เจ้าหลักๆ ได้แก่ cPanel, Direct admin และ Plesk

1.1 cPanel

cPanel คือ Control panel ที่โฮสติ้งส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นระบบหลังบ้านมากที่สุด คือเป็นที่นิยมในต่างประเทศ โฮสเจ้าใหญ่ที่เลือกใช้ Control panel เช่น GoDaddy, HostGator, Siteground เป็นต้น หน้าตาระบบหลังบ้านจะประมาณนี้

cpanel

1.2 DirectAdmin

cPanel คือ Control panel ที่โฮสติ้งในเมืองไทยนิยมใช้กันมากที่สุด อาจจะด้วยเหตุผลด้านต้นทุนของ Software ที่ถูกกว่า หรือด้วยเหตุผลอื่น อันนี้ผมก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่เรามักคุยเคยกันดี โฮสในเมืองไทยเจ้าใหญ่ที่นิยมใช้ เช่น Hostneverdie, Hostatom, Rukcom, Lotushosting เป็นต้น หน้าตาระบบหลังบ้านจะประมาณนี้

direct admin

1.3 Plesk

Plesk คือ control panel ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะมี interface ที่สวยกว่าหากเทียบกับ 2 เจ้าด้านบน และจุดแข็งของ Plesk คือด้าน Security ที่มีระบบป้องกันการถูกเจาะระบบ ได้ดีกว่า DirectAdmin โฮสในเมืองไทยที่ใช้ Plesk เช่น Hostatom, bangmodhosting, Z.com เป็นต้น หน้าตาระบบหลังบ้านจะประมาณนี้

การใช้งาน plesk

อ่านเพิ่มเติม หลักการเลือกโฮสให้เหมาะกับ WordPress

2 การเข้าสู่ระบบ Plesk

สำหรับการเข้าสู่ระบบ Plesk เพื่อเปิดใช้งาน ทำได้ 2 วิธี คือ

1) เข้าสู่ระบบ ผ่านทาง CLIENT LOGIN บนหน้าเว็บผู้ให้บริการโฮสติ้ง เช่น ในตัวอย่างเป็นของ Hostatom มีวิธีการเข้าสู่ระบบดังนี้

ไปที่เว็บ Hostatom คลิก CLIENT LOGIN

โฮสอะตอม

จากนั้นคลิกที่ บริการ เลือก Web hosting ที่เป็น Plesk (สำหรับบน hostatom เขาจะใช้ตัวย่อว่า PL ต่อท้าย)

choose web hosting

เข้าสู่ระบบ Plesk ด้วยการคลิกที่ open control panel

open control panel

เมื่อเราเข้าสู่ระบบ Plesk เรียบร้อยแล้วเราจะเจอหน้าตาระบบแบบนี้ครับ

การใช้งาน plesk

2) เข้าสู่ระบบ ผ่านทาง Control panel URL

หากเราเปิดใช้บริการโฮสติ้ง ไม่ว่าเราจะใช้บริการกับเจ้าใดก็ตาม คุณจะได้รับอีเมลที่เป็นข้อมูลสำหรับการใช้งาน Web hosting โดยมากจะมาในชื่อ New Web Hosting Account Information

ให้คลิกที่ Control panel URL

control panel url

เราจะเจอหน้าเข้าสู่ระบบ ให้เอา Username กับ Password ที่ได้รับจากอีเมลมาใส่ครับ

plesk url

 

3 วิธีการเพิ่มโดเมน

หากเราจดโดเมน และเช่าโฮสติ้งกับผู้บริการเจ้าเดียวกัน ในการจดโดเมนครั้งแรก ชื่อโดเมนจะถูกเพิ่มเข้าไปในโฮสโดยอัตโนมัติ แต่หากเราจดโดเมนจากที่อื่น หรือจดโดเมนเพิ่ม เราต้องเป็นคนเพิ่มโดเมนเข้าไปยังโฮสติ้งเอง เพราะทางโฮสติ้ง เขาไม่มีทางรู้ว่า โดเมนที่จดใหม่นี้ จะไปรันที่โฮสไหนได้ครับ

สำหรับคนที่จดโดเมนมาจากที่อื่นๆ ก่อนที่จะเพิ่มโดเมนมาที่โฮสใหม่ เราต้องทำการเปลี่ยน nameserver ของโดเมนเดิมให้ชี้มายังโฮสใหม่ก่อนนะ อ่านเพิ่มเติม: วิธีการเปลี่ยน Nameserver

วิธีการเพิ่มโดเมนมีขั้นตอนดังนี้

คลิก Add Domain

เพิ่มโดเมน

จากนั้นให้พิมพ์ชื่อโดเมนที่ต้องการเพิ่มลงไป

add domain

ติ๊กเปิดใช้งาน Let’s Encrypt เพื่อทำเว็บให้เป็น HTTPS ด้วย จากนั้นคลิก ok ครับ

4. วิธีสร้าง Sub domain

Sub domain คือ โดเมนย่อย สำหรับการแบ่งหมวดหมู่เว็บ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายๆ สำหรับเว็บที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลาย เช่น เว็บ kapook จะแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา เป็นเว็บใหม่แยกขาดจากเว็บหลัก แต่สร้างบน Subdomain แทน เช่น news.kapook.com, travel.kapook.com เป็นต้น

แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นเว็บขนาดใหญ่ เราไม่จำเป็นต้องแบ่งเนื้อหา แยกออกมาเป็นอีกเว็บก็ได้ แต่เราจะใช้ Subdomain เอาเป็นเว็บสำหรับการฝึกฝนทำเว็บนั้นเอง ซึ่งเป็นการใช้ Subdomain สร้างเว็บบนโฮสจริง แทนการจำลอง server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมมองว่า การสร้าง Subdomain เพื่อเอาไว้ฝึกทำเว็บ สะดวกกว่าการจำลอง Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ

ตัวอย่าง

สมมุติ ผมรับงานทำเว็บมา 1 งาน ผมจะสร้างเว็บบน Subdomain ก่อน เช่นทำแบบนี้ ecloudtec.padveewp.com หากเราทำเว็บบน Subdomain ข้อดีคือเราสามารถส่งตัวอย่างเว็บที่เรากำลังทำไปให้ลูกค้าดูได้เลย หากลูกค้าพอใจ เราก็ทำการย้ายเว็บนั้นมาลงบนโดเมนจริง ที่เว็บนี้ได้เลย ecloudtec.com

อ่านเพิ่มเติม: การย้ายเว็บ WordPress ด้วยปลั๊กอิน All in one Migration

ขั้นตอนสร้าง Subdomain บน Plesk

หลักจากเข้าสู่ระบบ Plesk คลิกเลือกชื่อโดเมนที่เราต้องการสร้าง Subdomain จากนั้นให้คลิก Add Subdomain

สร้าง subdomain

พิมพ์ชื่อ Subdomain ที่ต้องการลงไป และอย่าลืมติ๊กเปิดใช้งาน SSL Let’s Encrypt เพื่อทำ HTTPS คลิก OK เป็นอันเรียบร้อย สำหรับการสร้าง Subdomain บน Plesk ครับ

สร้างซับโดเมนบน plesk

5. วิธีลง WordPress บน Plesk

สำหรับขั้นตอนต่อมาถือเป็นขั้นตอนสำคัญเลย เพราะคุณจะไม่สามารถสร้างเว็บต่อได้หากคุณยังไม่ลง WordPress ขั้นตอนลง WordPress บน Plesk มีดังนี้ครับ

5.1 เลือกชื่อโดเมน หรือซับโดเมน ที่คุณต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ install WordPress

ลง WordPress

สำหรับหน้าตั้งค่า ให้เลือกการตั้งค่าตามรูปตัวอย่างได้เลยครับ

install wordpress on option

ระบบของ Plesk จะถามเราว่าลงปลั๊กอินอะไรเลยมั้ย ตรงจุดนี้ให้เราคลิก No, thanks ไปก่อนครับผม

no thank

เราก็ลองเช็คดูว่าตัว WordPress ที่เราลงไป แสดงผลหรือไม่ ให้คลิกที่ open site ได้เลยครับ

open site wordpress

หากขึ้นหน้าที่มีคำว่า Hello world! แสดงว่าเว็บของเราได้ลง WordPress เรียบร้อยแล้ว

Wordpress 5

6. วิธีการเปลี่ยน PHP Version

โฮสติ้ง WordPress

WordPress จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ PHP 7 ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งโดยมาค่าเริ่มต้นของโฮสส่วนใหญ่ก็เซ็ทมาเป็น PHP7 กันอยู่แล้ว แต่เพื่อความชัวร์ เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าการเปลี่ยนค่า PHP Version บน Plesk เราจะได้ปรับตรงจุดไหน

เข้าไปที่ชื่อโดเมนของเรา คลิกที่ PHP Settings

php7 setup

ข้อดีของ Plesk เขามี PHP version มาให้เราเลือกใช้งานถึง 5 เวอร์ชั่น

php 7.2

7. วิธีการติดตั้ง SSL by Let’s Encryption บน Plesk เพื่อทำเว็บให้เป็น HTTPS

https

จุดเด่นของ Plesk อีก 1 จุดที่ผมชอบ คือเราสามารถทำ SSL ผ่าน Let’s Encryption ได้ง่ายๆ มากด้วยการคลิกแค่ครั้งเดียว ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้ครับ

ไปที่ชื่อโดเมนที่ต้องการ คลิกที่ Let’s Encrypt

Install SSL

จากนั้นให้ใส่ชื่อโดเมน และคลิก install ได้เลยครับผม

install let encrypt on plesk

8. การทำ Search engine no indexing บน Plesk

สำหรับคนที่ใช้ Subdomain เป็นที่ฝึกทำเว็บไซต์ ข้อดีคือเราทำทุกอย่างออนไลน์ ทำบนคอมเครื่องไหนก็ได้ แต่ข้อเสียเมื่อทุกอย่างออนไลน์ ตัว Google bot ย่อมวิ่งมา index ข้อมูลบนเว็บเราด้วย ดังนั้นสำหรับเว็บที่สร้างบน Subdomain ที่ใช้ไว้สำหรับฝึกซ้อม เราควรทำ Search engine no indexing ไว้ก่อนด้วย

พอเรารันเว็บบนโดเมนจริง เราค่อยเปิดให้ Google มา index เว็บเราตามปกติ ขั้นตอนทำ No index บน Plesk มีขั้นตอน ดังนี้

ให้เราดูที่แถบเมนูด้านซ้าย คลิกคำว่า WordPress ดูที่คำว่า Search engine indexing ให้เลื่อนปิดมาทางซ้าย เพื่อทำการ Noindex

noindex

สรุป: คู่มือการใช้งาน Plesk 2019

Plesk คือ control panel ที่ช่วยเราบริหารและจัดการกับ Web hosting ได้ง่ายขึ้น และมี layout หน้าตาที่สวยงาม จุดเด่นของ Plesk คือด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ ติดตั้ง WorPress และติดตั้ง SSL ได้สะดวกกว่า DirectAdmin

บทความแนะนำ : คู่มือสอนใช้ WordPress 5 สำหรับมือใหม่ แบบละเอียด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *