Noindex คืออะไร ควรทำตอนไหน หน้าเว็บไม่ index แก้ยังไง

Noindex

ขั้นตอนแรกของการทำเว็บให้มีโอกาสติดอันดับ Google เราต้องทำให้เนื้อหาของเว็บเรา Index (ดัชนีข้อมูล) ให้ได้ก่อน แต่ในทางเทคนิค บางหน้าเนื้อหาบนเว็บเราอาจต้องทำ Noindex ไว้บ้าง

Noindex คืออะไร

Noindex เป็นคำที่ใช้อธิบายลักษณะการทำงานของเครื่องมือค้นหา (search engine) เช่น Google เมื่อเว็บมีการทำ Noindex หน้าเว็บไซต์นั้น จะไม่ถูกจัดทำดัชนีหรือจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Google สิ่งนี้ทำเพื่อป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ปรากฏในหน้าผลการค้นหานั้นเอง

Noindex มีกี่แบบ

การทำ Noindex มีประโยชน์ในบ้างสถาณการณ์ แต่เราจะรู้ว่าตอนไหนที่เว็บเราควรทำ Noindex เราต้องรู้เบื้องต้นก่อนว่า การทำ Noindex นั้นมีกี่แบบ

1. Noindex ทั้งเว็บ

การทำ Noindex ทั้งเว็บ เรามักจะเอาไว้ใช้สำหรับตอนเริ่มต้นสร้างเว็บใหม่ ที่เนื้อหาต่างๆ บนเว็บยังไม่เรียบร้อย ยังไม่พร้อมให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล หรือยังไม่พร้อมเผยแพร่สู่สาธารณะ

ถ้าเว็บที่สร้างใหม่ อย่าพึ่งปล่อยให้ Google มาเก็บข้อมูลทันที คุณควรวางแผนโครงสร้างหน้าเว็บ และเลือก keyword ที่สำคัญของธุรกิจของคุณเตรียมไว้ก่อน การรู้จังหวะว่า เนื้อหาไหนควรทำก่อน ควรทำทีหลัง มีผลต่อการทำ SEO บนเว็บของเราด้วย

เพราะถ้าเราใจร้อนรีบทำเนื้อหา โดยที่ไม่ได้วางแผนให้ดีแต่แรก อาจส่งผลให้ Google index เว็บผิดหน้าได้ หน้าที่เราอยากให้ติดอันดับ กลับไม่ติดอันดับ เพราะ Google ไปจับหน้าอื่นไปก่อนแล้วนั้นเอง

วิธีทำ Noindex ทั้งเว็บ บน WordPress

สำหรับคนที่ใช้  WordPress ในการสร้างเว็บ การทำ Noindex ทั้งเว็บนั้น ทำได้ง่ายมาก เพราะตัว WordPress เอง เขามีฟังชั่นนี้เตรียมไว้ให้แล้ว

ให้เราเข้าไปที่หลังบ้านเว็บ WordPress ดูที่เมนู Settings > คลิก reading > ดูที่คำว่า Search engine visibility แล้วติ๊กเปิดใช้งานที่ช่อง Discourage search engines from indexing this site

Search engine visibility คือ การกำหนดว่าเว็บนี้ ต้องการเปิดให้เครื่องมือค้นหาเข้ามาเก็บข้อมูลหรือไม่

แต่สิ่งที่ควรระวัง เมื่อคุณทำเว็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเอาติ๊กถูกในช่องนี้ออกด้วยนะ

2. Noindex บางหน้า

การทำ Noindex บางหน้า คือการที่เราตั้งใจเลือกเฉพาะบางหน้าที่เราไม่ต้องการ มาทำ Noindex การทำ SEO ที่ดี เราก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกหน้า index ก็ได้ โดยเฉพาะหน้าที่ไม่สำคัญ หรือหน้าที่เราไม่ได้มีการทำ On page SEO

หน้าที่ควรทำ Noindex อาทิเช่น

  • พวกหน้าข้อตกลงและเงื่อนไข
  • หน้าแจ้งชำระเงิน
  • หน้า cart และ หน้า checkout
  • หน้า tag
  • หน้า Author
  • หน้าที่เราคัดลอกเนื้อหาจากเว็บคนอื่นมา

สำหรับการเลือกทำ Noindex บางหน้า คุณต้องทำผ่านปลั๊กอิน SEO ต่างๆ เช่นปลั๊กอิน Yoast, Rankmath เป็นต้น

สำหรับวิธีการทำ Noindex บางหน้า มีวิธีการดังนี้

เปิดหน้าที่เราต้องการจะทำ Noindex ก่อน จากนั้น คลิกเข้าไปแก้ไขหน้านั้น เลือกดูฟังชั่น SEO ที่มากับปลั๊กอินที่เราเลือกใช้ เช่น

ถ้าคุณใช้ Yoast ให้เลื่อนหาคำว่า Advance แล้วตรงหัวข้อ Allow search engines to show this Post in search results? ก็ให้เลือก No แปลว่า หน้านี้ไม่อนุญาตให้ Search engine เข้ามาเก็บข้อมูล

ถ้าคุณใช้ปลั๊กอิน Rankmath ก็หลักการเดียวกัน เปิดหน้าเว็บที่ต้องการทำ Noindex มาก่อน จากนั้นคลิกแก้ไขหน้านั้น แล้วเลื่อนหาฟังชั่น Advance จากนั้นติ๊กช่อง Noindex ได้เลย

3. Noindex nofollow

Noindex ใช้บอก Search Engine ว่าหน้าเว็บไซต์นั้นไม่ควรถูกเก็บเข้าคลังข้อมูล (Index) เพื่อไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหา ส่วน Nofollow ใช้บอก Search Engine ว่าลิงก์บนหน้าเว็บไซต์นั้นไม่ควรติดตาม (Follow) เพื่อไม่ให้ลิงก์นั้นมีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่ถูกลิงก์ไป

การใช้ Noindex nofollow เป็นสิ่งที่มักใช้ เมื่อเราต้องการป้องกันการโพสต์ลิงก์ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือที่ไม่ได้รับอนุญาต  Noindex nofollow จะใช้บ่อยในหน้าเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของเว็บไซต์หรือเนื้อหาที่ไม่สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้น ๆ

4. Noindex เพราะเนื้อหาไม่ดี

Noindex ในความหมายนี้ คือหน้าเว็บ ที่เราอยากให้ index แต่ Google ไม่ยอมมา index สักที การแสดงผลข้อมูลของหน้านั้นบน Search console จึงขึ้นเป็นค่า Noindex คือ ไม่ถูกจัดทำดัชนี

เหตุผลหลักๆ ของหน้าที่ไม่ถูก index ส่วนใหญ่เกิดจากเนื้อหาที่เราทำนั้นยังไม่ดีพอ คือ เนื้อหาซ้ำกับเว็บตัวเองหน้าอื่น หรือไม่ก็ซ้ำกับเว็บคนอื่น แม้ว่าคุณจะคิดเข้าข้างตัวเองว่า เนื้อหาหน้าที่เราทำนี้ไม่ได้คัดลอกใครมาแบบเปะๆก็ตาม

สำหรับวิธีการแก้ไขหน้าเว็บที่ไม่ index มีวิธีการดังนี้

  1. เช็คก่อนว่าเอาฟังชั่น Noindex ออกรึยัง
  2. ปรับเนื้อหาให้สดใหม่ เนื้อหาสดใหม่ดูยังไง อ่านบทความนี้นะ วิธีเช็คเนื้อหาสดใหม่
  3. ปรับ On page SEO ให้เรียบร้อย
  4. หาบทความหน้าอื่นๆ ทำลิงก์ส่งมาหา
  5. เอาหน้านั้น ส่งไปขอจัดทำดัชนีใหม่บน Google Search console
  6. ทำใจเย็นๆ รอเวลาสัก 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย

อ่านเพิ่มเติม: ทำไมการทำ SEO ถึงห้ามใจร้อน

5. Noindex เพื่อเอาข้อมูลออกจากหน้าผลการค้นหา

ส่วนการทำ Noindex ประเภทสุดท้าย คือ การเอาหน้า url ที่เคยแสดงผลบนหน้าค้นหา Google ให้หายไปจากผลการค้นหาไปเลย

เพราะบางครั้ง เราอาจจะมีการทำข้อมูลผิดพลาด แล้วข้อมูลทีเราทำ ก็ให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น จะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม

เพื่อป้องกันความเสียหายลุกลาม วิธีการดีที่สุดในการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน คือ การแจ้ง Google ให้เอาหน้านั้นออกจากหน้าผลการค้นหาชั่วคราวก่อน

ซึ่งเราสามารถเอาหน้าที่เคยแสดงผลออกจาก Google ได้แบบเร็วที่สุดจะใช้เวลาประมาณ 1 วัน ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้ครับ

คัดลอก URL หน้าเว็บที่เราต้องการเอาออกจาก Google

ไปที่ Google search console ดูที่เมนู การนำออก > คลิกไปที่คำขอใหม่ > ใส่ URL ที่ต้องการนำออกลงไป > คลิกถัดไป

จะเจอกล่องข้อความเพื่อเตือนเราอีกครั้ง หน้า url นี้ จะถูกบล็อกจาก Google search เป็นเวลา 6 เดือน ถ้าเช็คทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็กด ส่งคำขอ ได้เลย

วิธีทำ Noindex ด้วยการเขียนโค้ด

การทำ Noindex จะต้องเขียนโค้ดลงในไฟล์ HTML ของหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการทำ Noindex โดยใช้ tag meta ดังนี้

โดยสามารถใส่โค้ดนี้ไว้ในส่วนหัวของหน้าเว็บไซต์ได้ เพื่อให้ Search Engine รู้ว่าหน้าเว็บไซต์นี้ไม่ควรถูกเก็บเข้าคลังข้อมูล และไม่ควรปรากฏในผลการค้นหา

นอกจาก Noindex ยังมีคำสั่ง nofollow ที่ใช้กับลิงก์ เพื่อบอกให้ Search Engine ไม่ติดตามลิงก์นั้น ๆ โดยใช้โค้ดดังนี้

โดยใส่ rel=”nofollow” ใน tag a ของลิงก์เพื่อบอก Search Engine ว่าไม่ควรติดตามลิงก์นี้ โดยลิงก์นี้จะไม่มีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่ถูกลิงก์ไป.

สรุป

การทำ Noindex อาจเป็นประโยชน์ในบางสถานการณ์ แต่การทำ Noindex อาจส่งผลกระทบต่อการจัดทำดัชนีของ Search engine  นอกจากนี้อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถค้นหาและเข้าถึงเนื้อหาของเว็บไซต์ได้

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาการใช้ Noindex อย่างรอบคอบก่อนที่จะนำไปใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจต่อการจัดทำดัชนีของเครื่องมือค้นหาและการเข้าถึงเนื้อหาของผู้ใช้งาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *