การจะทำเว็บให้มีประสิทธิภาพ ปัจจัยแรกคือการรู้จักเลือก Hosting WordPress ที่มีคุณภาพก่อน โฮสติ้งทุกเจ้า สามารถใช้สร้างเว็บได้ แต่ไม่ใช่โฮสทุกเจ้าที่เหมาะกับการสร้างเว็บด้วย WordPress
หากคุณยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ Hosting WordPress ที่ไหนดี บทความนี้มีคำแนะนำครับ
สารบัญ
- Hosting คืออะไร
- ประเภทของ Hosting
- สเปคของโฮสติ้ง ที่ WordPress แนะนำ
- หลักการเลือก Hosting ให้ถูกต้อง
- Hosting WordPress แนะนำ
- สรุป
1. Hosting คืออะไร
Hosting คือ Server ที่เป็นพื้นที่ ที่ใช้เก็บข้อมูล รูปภาพ และไฟล์ต่าง ๆ เพื่อใช้แสดงเว็บของเรา ชื่อโดเมนอาจเปรียบเหมือนชื่อร้านค้า โฮสติ้ง ก็จะเปรียบเหมือนที่ตั้งร้านค้า ที่เราต้องไปเช่าเขานั่นเอง
2. ประเภทของ Hosting
ก่อนที่เราจะเลือก Web Hosting ได้ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจประเภทของ Hosting กันสักเล็กน้อยก่อนครับ หากเราแบ่งประเภทหลักของโฮสติ้ง เราจะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
2.1) Share Hosting
Share Hosting คือ ระบบโฮสติ้ง ที่มีการแชร์ทรัพยากรร่วมกันบน Server เครื่องเดียว Hosting ประเภทนี้ เป็นโฮสติ้งพื้นฐานที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะราคาไม่แพงเหมาะกับสำหรับผู้เริ่มต้น
เพราะใช้พื้นที่ร่วมกันบน Server เดียวกัน จึงทำให้ Share Hosting นั้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับโฮสประเภทอื่นๆ
Share Hosting เหมาะสำหรับเว็บประเภทใด
Shared hosting เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้น ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิคมากมาย และเหมาะกับการสร้างเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง
แชร์โฮสโดยส่วนมากจะรองรับ Traffic คนเข้าชมเว็บได้ประมาณ 30000 – 50000 คนต่อเดือน
ข้อดี ของ Share Host
- ราคาถูก ราคาเริ่มต้นประมาณ 1000-3000 บาทต่อปี
- ใช้งานง่าย เพราะมี Control Panel ให้มาให้พร้อมใช้งานเลย
- มีคนดูแลเซิฟเวอร์ให้ ช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหา
อ่านเพิ่มเติม: Hosting Control Panel คืออะไร
ข้อเสีย ของ Share Host
- มีการแชร์ทรัพยากร ให้กับเว็บอื่นๆ ด้วย
- ทำให้มีปัญหาด้านประสิทธิภาพ ที่เราควบคุมไม่ได้
- รองรับ Traffic คนเข้าชมเว็บได้น้อย ทำให้เว็บล่มง่าย
คำแนะนำของผม หากคุณพึ่งเริ่มต้นทำเว็บ ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นใช้ Share Hosting เป็นตัวเลือกแรกก่อนได้เลย เอาไว้ให้เว็บคุณใหญ่ขึ้น คนเข้าเว็บเยอะขึ้น แล้วค่อยอัพเกรด Host ให้ดีขึ้นได้ในภายหลัง เราไม่ควรใช้เงิน หรือใช้เครื่องมือเกินความจำเป็นในช่วงเริ่มต้นนั้นเอง
Share Host แนะนำ : Hostatom , SiteGround
2.2) VPS Hosting
Virtual Private Server หรือ VPS Hosting คือ เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวแบบเสมือนจริง เป็นการจำลองเครื่อง Server เสมือนขึ้นมา ภายใต้เครื่อง Server จริง ๆ 1 เครื่อง ซึ่งแต่ล่ะ VPS ก็จะมีการทำงานเป็นของตัวเองราวกับ Server ปกติ ไม่ต้องแชร์ทรัพยากรให้เว็บอื่น ๆ
แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์หลัก (Dedicate Server) จะถูกแชร์กับเว็บไซต์อื่น ๆ แต่เว็บไซต์ของคุณจะจะไม่ถูกแบ่งทรัพยากร ไปให้เว็บคนอื่น ทำให้ VPS Hosting มีประสิทธิภาพมากกว่า Share Host นั้นเอง
VPS Hosting เหมาะสำหรับเว็บประเภทใด
VPS โฮสติ้ง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และเว็บที่มีผู้เข้าชมเว็บประมาณ 100,000 คนขึ้นไป ที่ต้องการความเสถียรของ Server (VPS เว็บจะล่มยากกว่า Share Host)
และสำหรับผู้ที่ใช้งาน VPS อาจต้องมีรู้ทางเทคนิคด้าน Server สักเล็กน้อย เพราะตัวระบบจะยังไม่มีตัว Hosting Control Panel มาให้ อาจต้องซื้อ Control Panel มาใส่เพิ่มเองภายหลัง
ข้อดี ของ VPS Hosting
- ไม่ต้องถูกแบ่งทรัพยากร Server ให้ใคร
- มีความยืดหยุ่นและปรับสามารถปรับเปลี่ยนสเปคของเซิฟเวอร์ที่ต้องการได้
- รองรับการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นด้วย
- ราคายังถูกกว่าการลงทุนซื้อ Sever มาทำเอง
ข้อเสีย ของ VPS Hosting
- ราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยปีละ 10000 บาทขึ้นไป
- ต้องมีความรู้ทางเทคนิคด้านปรับแต่ง Server
- VPS ของบางโฮส ไม่ได้มี Hosting Control Panel มาให้ มีค่าใช้จ่ายในการซื้อมาลงเพิ่ม
VPS Host แนะนำ : Hostatom , ruk-com
2.3) Dedicated Hosting
Dedicated Hosting คือ Server ที่คุณเป็นเจ้าของ และใช้งานเพียงคนเดียว Dedicated Hosting จึงเป็นประเภทของโฮส ที่ดีที่สุด แต่ก็แพงที่สุดเช่นเดียวกัน
แต่ในความเป็นจริงยุคนี้ เพื่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครื่อง Server เอง แต่ผู้ให้บริการโฮสติ้ง ส่วนใหญ่จะมีบริการให้เช่าเครื่อง Server ด้วย ทำให้เจ้าของธุรกิจ ไม่ต้องดูแลรักษาในส่วนของ Server เอง แต่ในด้านการปรับแต่ง ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการปรับแต่งด้วยเช่นเดียวกัน
Dedicated Hosting เหมาะสำหรับเว็บประเภทใด
- เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจำนวนมาก มีการคลิกต่อวันสูง
- บริษัทที่ต้องดูแลเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก
- ผู้ที่ต้องการติดตั้งโปรแกรม หรือการใช้งานพิเศษ ที่เว็บโฮสติ้งทั่วไปไม่รองรับ
- ผู้ที่ต้องการ Server ความปลอดภัยของข้อมูลสูงสุด
ข้อดี ของ Dedicated Hosting
- รองรับ Traffic คนเข้าเว็บได้เป็นจำนวนมาก
- ติดตั้งโปรแกรม หรือการใช้งานพิเศษได้
- มีความปลอดภัยมากกว่า โฮสทั่วไป
- มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ข้อเสีย ของ Dedicated Hosting
- ราคาแพง
- ต้องมีความเชี่ยวชาญการปรับแต่ง Server
- ต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเอง
Dedicated Host แนะนำ : Hostatom ยุคนี้เราไม่จำเป็นต้องซื้อ Server เอง แต่เปลี่ยนเป็นการเช่าแทน ข้อดีจะมีคนช่วยดูแล และ Maintenance Server ให้กับเราด้วย
2.4) Cloud Hosting
Cloud Hosting คือ เว็บโฮสติ้งรูปแบบใหม่ ลักษณะการใช้งานเหมือน VPS Hosting แต่คุ้มค่ากว่า การทำงานของ Cloud Hosting ใช้เซิฟเวอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันแล้ว จัดสรรทรัพยากรแบ่งเป็น VPS หลายๆ ลูกอีกที ข้อดี คือ หากเซิฟเวอร์เครื่องหนึ่งเสียหาย ระบบก็ยังคงทำงานได้อยู่
cloud web hosting เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมีความเสถียรกว่าโฮสติ้งแบบดั้งเดิม
Cloud Hosting เหมาะสำหรับเว็บประเภทใด
- เหมาะสำหรับเว็บขนาดกลางและขนาดใหญ่
- เว็บที่ต้องการความเสถียรของข้อมูลสูง
- เว็บที่กลุ่มลูกค้าอยู่ต่างประเทศ
ข้อดี ของ Cloud Hosting
- คิดค่าใช้งานตามการใช้งานจริง
- มีความหยืดหยุ่นสูง ปรับสเปคแบบ Realtime ได้
- สามารถเลือกที่ตั้งหรือ Location ของเซิฟเวอร์ได้หลายที่ทั่วโลก
- มีความปลอดภัยสูง
ข้อเสีย ของ Cloud Hosting
- ไม่มีราคาที่ตายตัว
- Traffic มากค่าใช้จ่ายมากตามไปด้วย
- ต้องมีความรู้ด้านเทคนิค
- ยังไม่ค่อยมีผู้ให้บริการที่เป็นคนไทย
Cloud Hosting แนะนำ: DigitalOcean, Amazon Web Service, Google Cloud,
เนื่องจากการใช้งาน Cloud Hosting มีลักษระเป็น VPS ดังนั้นผู้ใช้งานต้องมีความรู้ด้านเทคนิคพอสมควร แต่ในปัจจุบัน มีผู้ให้บริการโฮสติ้งหลายเจ้า ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเซ็ทระบบ Cloud แทนผู้ใช้งาน เช่น เราไม่ต้องไปสมัครใช้งานตรงๆ บน DigitalOcean แต่ให้เราเลือกสมัครผ่าน Cloudways แต่ให้เลือก Sever เป็น DigitalOcean แทนนั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม: ติดตั้ง WordPress บน Cloud Server ง่ายๆ ด้วย Cloudways
3. สเปคของ Hostingที่ WordPress แนะนำ
WordPress คือ CMS ที่เป็นแพลตฟอร์มไว้สำหรับการสร้างเว็บ ให้มองว่าเขาเป็นโปรแกรมชนิดนึง แน่นอนหากเราอยากจะใช้ WordPress หรือโปรแกรมอะไรก็ตามให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที เราต้องรู้เสปคของ Sever ที่เขาต้องการก่อนนั้นเอง
Spec โฮสติ้ง ที่ WordPress แนะนำมีดังนี้
- PHP version 7.3 or greater.
- MySQL version 5.6 or greater OR MariaDB version 10.1 or greater.
- HTTPS support
อ้างอิงจาก: WordPress.org
ดังนั้นก่อนที่คุณจะเลือกใช้ผู้ให้บริการ Hosting เจ้าไหน เอาสเปค ดังกล่าวไปสอบถามผู้ให้บริการโฮสติ้งเจ้านั้นก่อนได้เลยว่ามีครบทั้งหมดหรือไม่ (ปล. ในปัจจุบันผู้บริการโฮสติ้งส่วนมาก ให้บริการโฮสที่มี spec ตามที่ WordPress ต้องการอยู่แล้ว)
4. หลักการเลือก Hosting ให้ถูกต้อง
แน่นอนหากคุณไปถามผู้บริการโฮสติ้งตรงๆ ว่าโฮสนี้รองรับ WordPress มั้ย ทุกเจ้าย่อมตอบว่า รองรับอยู่แล้ว เมื่อโฮสติ้งทุกเจ้ารองรับ WordPress ทั้งหมด แล้วเราจะมีหลักการเลือกโฮสติ้งอย่างไร เพราะในความเป็นจริงนั้น มีทั้งบริษัทโฮสที่ดี และไม่ดีปะปนกัน
7 ขั้นตอนสำหรับการเลือก WordPress Hosting (สำหรับมือใหม่)
1) คุณต้องรู้ก่อนว่า 1 เว็บไซต์ นั้นใช้พื้นที่ข้อมูลเท่าไหร่
โฮสติ้ง คือ ที่ตั้งเว็บไซต์ โดยมาราคาของแพคเกจต่างๆ เขาจะแบ่งตามขนาดของพื้นที่ข้อมูลที่คุณต้องการ เช่น แบ่งเป็น 10 Gb, 20 Gb, 30 Gb เป็นต้น
การเริ่มต้นสร้างเว็บ ก็เหมือนเปิดร้านขายของ คุณไม่ควรเช่าพื้นที่ใหญ่เกินความจำเป็น ควรทำเว็บ ทำการตลาดให้ขายดี มีคนเข้าร้านเราจนแน่นก่อน แล้วค่อยขยับขยายร้านภายหลังได้ คุณจะได้ไม่ต้องใช้เงินเกินความจำเป็นในช่วงแรก
ดังนั้นสิ่งที่คุณควรรู้เป็นอันดับแรกว่า การทำเว็บ ถ้าทำอย่างถูกต้อง เว็บไซต์ของเราจะมีขนาดเท่าไหร่ คำตอบคือ เว็บไซต์โดยเฉลี่ย จะมีขนาดไม่เกิน 500 Mb
ขนาด 500 Mb นี้วัดอย่างไร วัดจากจำนวนหน้าเว็บ คือ ประมาณ 80 หน้า โดยใช้การอ้างอิงจากเว็บของผมเอง เว็บ padveewebschool มีจำนวนหน้าเว็บ 80 หน้า มีขนาดไฟล์ข้อมูลอยู่ที่ 483 Mb
นั้นหมายความว่า หากใครทำเว็บ แล้วจำนวนหน้ายังไม่ถึง 80 หน้า เช่น บางคนมีเว็บแค่ 20 หน้า แต่ใช้ไฟล์ข้อมูลเว็บไป 1 Gb ถ้าเป็นแบบนี้ แสดงว่าคุณอาจทำเว็บผิดหลักการแต่แรก เช่นใส่รูปภาพขนาดใหญ่เกินไปนั้นเอง ดังนั้นสำหรับเว็บที่เริ่มต้น จำนวนหน้ายังไม่เยอะ เราจึงต้องการพื้นที่เว็บไซต์เพียง 500 Mb
แน่นอนสำหรับบางคนที่เป็นเว็บขายสินค้า ที่มีสินค้าจำนวนมาก ขนาดไฟล์เว็บย่อมมีโอกาสใหญ่เกิน 500 Mb อยู่แล้ว เพราะสินค้าค้า 1 ชิ้น ก็จะเท่ากับหน้าเว็บ 1 หน้า แต่ทั้งนี้จำนวนหน้า กับขนาดไฟล์ ต้องเพิ่มแบบสมดุลกันนั้นเอง เช่น
80 หน้า = 500 Mb , 160 หน้า = 1 Gb , 240 หน้า = 1.5 Gb
ด้านบนเป็นการเปรียบเทียบแพคเกจของ hosting ระหว่าง GoDaddy กับ Hostatom จะเห็นได้ว่าแพคเกจเริ่มต้นของแต่ละโฮสนั้นให้ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว คือ 30Gb และ10Gb แต่เว็บเราต้องการพื้นที่ข้อมูลเพียง 500 Mb เท่านั้น
ดังนั้นคุณสามารถเลือกแพคเกจเล็กสุดของแต่ละโฮสได้เลยในการเริ่มต้น แต่ทั้งนี้การเลือกโฮสไม่ได้ดูแค่เรื่องพื้นที่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายองค์ประกอบ ตามหัวข้อถัดไปครับ
2) คุณมีแผนจะทำเว็บทั้งหมดกี่เว็บ
แน่นอนหากคุณต้องการทำตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์อย่างจริงจัง ไม่มีใครทำเว็บแค่เว็บเดียวครับ แต่ละธุรกิจล้วนมีหลายเว็บแทบสิ้น ดังนั้น การหลักการเลือกโฮสติ้ง จุดสำคัญคือดูที่ว่า แพคเกจที่เราต้องการ เขาให้เราทำเว็บได้กี่โดเมนนั้นเอง
ถ้าดูรูปแรก เป็นของ GoDaddy แพคเกจถูกสุดเขาคิดราคาเป็นรายเดือนโดยที่เดือนแรกมีค่าใช้จ่าย 129.50 บาท เดือนต่อต้องจ่ายราคาเต็มคือ 259 บาทต่อเดือน ซึงก็เท่ากับสำหรับแพคเกจนี้มีค่าเช่ารายปีประมาณ 3100 บาท แต่หากเราสังเกต เขาให้สิทธิเราทำเว็บได้แค่โดเมนเดียว
สำหรับผม แบบนี้ดูแล้วไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ เพราะเราต้องเสียเงินปีละ 3000 บาท แต่สามารถทำได้แค่เว็บเดียว นั้นแปลว่า หากคุณอยากมี 2 เว็บ ก็ต้องเสียค่าเช่าโฮสถึงปีละ 6000 บาทเลยทีเดียว
รูปด้านบน เป็นค่าบริการ Hosting WordPress ของ Hostatom ราคาแพคเกจเริ่มต้นของเขาอยู่ที่ 1,490 บาท แต่เราสังเกตต่อมาจะเห็นได้ว่า สำหรับโฮสเจ้านี้ เราเช่าโฮสตัวเดียว แต่สามารถเพิ่มโดเมนลงไปได้ไม่จำกัด ผมมองว่าแบบนี้คุ้มค่า หากอนาคตเราอยากทำเว็บเพิ่ม เราก็แค่จดโดเมนเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ต้องเช่าโฮสเพิ่มนั้นเอง
3) โฮสที่ดีต้องมี Free SSL
SSL มีชื่อเต็ม คือ Secure Socket Layer เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ช่วยทำเว็บเราแสดงหัวเว็บเป็น HTTPS ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ SEO ด้วย
ซึ่งโฮสที่ดีควรมีบริการ Free SSL/TLS Certificates ผ่าน Let’s Encrypt มาให้ แบบไม่จำกัดจำนวนโดเมน และต้องสามารถทำ SSL บนโดเมน และ subdomain ได้ด้วย
ดังนั้นก่อนที่คุณจะเลือกใช้บริการ Hosting เจ้าไหนดี ให้คุณติดต่อสอบถามเข้าไปเลยว่า โฮสนี้ มีบริการ Free SSL ที่ครอบคลุมทั้งตัวโดเมน และ subdomain หรือไม่ รวมถึงจำกัดจำนวนการทำ ฟรี SSL หรือไม่ เพราะบางโฮสก็คิดเงินเพิ่ม บางโฮสก็ฟรีเฉพาะที่ตัวเว็บที่เป็นโดเมนเว็บเดียว ไม่ครอบคลุม Subdomain
4) มี Hosting Control Panel คอยอำนวยความสะดวก
Hosting Control panel คือ ระบบบริหารจัดการเว็บโฮสติ้ง เป็นตัวช่วยให้เราทำการสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำหน้าที่หลักๆ เช่น เพิ่มโดเมน สร้างซับโดเมน หรือแม้กระทั้งเป็นตัวช่วยสำหรับการลง WordPress
ซึ่ง Control panel ที่นิยมกันทั่วโลก จะมีอยู่ 3 เจ้าหลักๆ ได้แก่ cPanel, Direct admin และ Plesk
ถ้าถามผมว่าตอนนี้ Control panel ตัวไหนใช้งานง่ายสุด ผมแนะนำให้คุณเลือก Plesk ครับ
อ่านเพิ่มเติม: คู่มือใช้งาน Plesk Control panel ที่ดีที่สุดในตอนนี้
แต่ทั้งนี้โฮสนี้ระดับโลกบางเจ้าของต่างประเทศ เขาอาจจะมี Control panel ของเขาเองก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนคุณจะเลือกใช้โฮสเจ้าใดให้สอบถามผู้บริการโฮสติ้งก่อนว่ามีตัว Hosting Control panel มาให้เราด้วยมั้ย เพราะบางเจ้าอาจมีคิดเงินเพิ่มหากคุณต้องการ Control panel นั้นเอง
5) โฮสที่ดีต้องรองรับ PHP 7.3 แบบเลือกปรับ Version เองได้
เนื่องด้วย WordPress เป็น Platform ที่มีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาด้านการใช้งานและด้านความปลอดภัย ซึ่งตอนนี้ตัว Server จะทำเว็บ WordPress ให้มีประสิทธิภาพดีต้อทำงานบน PHP 7.3 ขึ้นไปเท่านั้น
ดังนั้นให้คุณสอบถามไปยังโฮสติ้งที่คุณกำลังสนใจจะใช้งานอยู่ ว่ามีรองรับ PHP 7.3 แล้วหรือยัง รวมถึงสามารถให้ User เลือกเปลี่ยน Version เองได้หรือไม่
6) การบริการช่วยเหลือลูกค้าที่รวดเร็ว
โฮสติ้งที่ดีต้องสามารถติดต่อสอบถามได้ง่าย ติดปัญหาอะไรตอบปัญหาได้ทันทวงที ตรงจุดนี้ เป็นสิ่งที่ดูยากมากที่สุด ว่าโฮสติ้งไหนบริการดี หรือไม่ดี หากคุณไม่เคยใช้บริการโฮสเจ้าใดเลย อาจจะไม่มีข้อเปรียบเทียบนั้นเอง
หลักการทดสอบว่าโฮสติ้งไหนบริการดีหรือไม่ จะคอยช่วยเหลือเรายามฉุกเฉินได้หรือไม่นั้น โดยมากแต่ละโฮสจะมีระบบ Live chat คุณลองพิมพ์ข้อมูลไปปรึกษาเรื่องการเลือกใช้โฮสกับเขาดู ถ้าเขาตอบกลับมาไว ตอบกลับแบบละเอียด พร้อมให้คำแนะนำตรงไปตรงมา จุดนี้ก็อาจเป็นเหตุผลให้คุณเลือกใช้บริการโฮสติ้งกับเจ้านั้นได้ครับ
7) ดู feedback ของคนที่เคยใช้งานโฮสนั้นมาก่อนเรา
ทุกวงการไม่ใช่เฉพาะวงการ WordPress จะเป็นวงการรถยนต์ จักรยาน บ้าน หรืออื่นๆ โดยมากยุคนี้แต่ละวงการเขาจะมี Facebook Group ไว้คอยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ดังนั้นง่ายที่สุด หากคุณพึ่งเริ่มต้นใช้งาน WordPress แน่นอนคุยย่อมมีความลังเล ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ โฮส ธีม ปลั๊กอิน ตัวไหนดี
ผมแนะนำให้คุณลองไปโพสถามสิ่งที่คุณอยากรู้บน Facebook group นี้ครับ WordPress Bangkok
เอาชื่อ Hosting ที่คุณสนใจใช้บริการไปสอบถามได้เลย ถ้า Feedback ที่ได้รับเป็นคำชมเชิงบวก คุณก็สามารถเลือกใช้โฮสตามที่คนในกลุ่มเขาแนะนำได้เลย ถ้า Feedback กลับมาไม่ดี คุณก็แค่เปลี่ยนไปเลือกโฮสเจ้าอื่นๆ นั้นเอง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกด้วยครับ
ตัวอย่างด้านบนเป็นแค่ feed back คำตอบของคนในกลุ่ม เพื่อให้ช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกโฮสติ้งที่เหมาะสมกับเว็บคุณได้ง่ายขึ้นครับ
5. Hosting WordPress แนะนำ
แต่แน่นอนเพื่อความง่าย หากคุณยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะใช้โฮสติ้งเจ้าไหนดี ผมมีตัวเลือกของโฮสที่ผมใช้งานอยู่มาแนะนำครับ เพราะการเลือกโฮสที่ดี การทำเว็บและทำ SEO ของเราจะง่ายขึ้นครับ ความเร็วของการเปิดเว็บขึ้นอยู่กับโฮสที่เราเลือกใช้ด้วย โฮสติ้งที่ผมแนะนำสำหรับการทำเว็บด้วย WordPress มีดังนี้
1) สำหรับผู้เริ่มต้นและงบน้อย เริ่มต้นปีละ 1500 บาท แต่คุณภาพเกินราคา ผมแนะนำเจ้านี้ครับ
ลองดูตัวอย่าง 3 เว็บนี้นะ เขาใช้โฮสอะตอม ถ้าคุณอยากทำเว็บให้เปิดเร็วๆ แบบเว็บเหล่านี้ เลือกใช้โฮสอะตอมได้เลยครับ (ลองเข้าไปคลิกเว็บเหล่านี้เล่นดูนะ)
2) ถ้าคุณต้องการความสเถียรเว็บไม่ล่ม และสามารถจ่ายค่าเช่าโฮสปีละ 6000-8000 บาทไหว ผมแนะนำ 2 เจ้านี้ครับ
ปล. เว็บผมเอง padveewebschool.com ก็ใช้โฮส siteground อยู่ครับ
สำหรับโฮสติ้ง Siteground คือ Host ที่ WordPress แนะนำให้ใช้ทำเว็บอย่างเป็นทางการด้วยครับ Officially Recommended by WordPress.org ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 3 โฮสได้แก่ 1. Bluehost 2. Dreamhost และ 3. Siteground นั้นเอง
เรียนออนไลน์ฟรี คอร์สเรียนสร้างเว็บ WordPress+Woocommerce
คลิกเข้าเรียนที่นี่- การจดโดเมนและเช่าโฮส
- การทำ HTTPS
- การติดตั้ง Wordpress
- การใช้ WordPress พื้นฐาน
- การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน Woocommerce
- การลงสินค้าประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าจัดส่งประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าชำระเงิน 3 แบบ
โอนเงิน paypal และบัตรเครดิต - การสร้างหน้าฟอร์มแจ้งชำระเงิน
- การสร้าง Contact Form
- การย้ายเว็บและการ backup เว็บ
- การติดตั้ง Google Analytic
และ Google Search Console
บทเรียนทั้งหมดนี้ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ฟรี โดยไม่ต้องสมัครเรียน
ความแตกต่างระหว่าง แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานนั้นเอง
พื้นฐานต้องแน่นก่อน ถึงจะสามารถต่อยอดทำเว็บให้ดีในอนาคตได้ครับ
6. สรุป
การเลือก Hosting WordPress อย่างถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการสร้างเว็บ WordPress ให้มีประสิทธิภาพ ผมเชื่อว่าคนที่อ่านบทความนี้ส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้เริ่มต้น ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นใช้โฮสติ้งระดับ Share Host ก่อนในการเริ่มต้นสร้างเว็บครับ และควรเลือกใช้โฮสไทยก่อนในตอนเริ่มต้น เพราะหากติดขัด อย่างน้อยการติดต่อสื่อสารจะสะดวกกว่านั้นเอง พอคุณเชี่ยวชาญแล้วค่อยอัพเกรดมาเลือกใช้โฮสที่มีราคาแพง หรือจะเลือกแบบ Cloud Hosting ก็ได้ครับ
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress + Woocommerce แบบมืออาชีพ ในวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน Woocommerce Expert แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
สร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ Woocommerce expert
- ค่าเรียน 9,500 บาท 21 - 22 สิงหาคม 2564
- เวลาเรียน 10.00- 16.00 น.
- เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 6 คนเท่านั้น (ว่าง)
- เราสอนด้วยธีม Flatsome Theme
(No.1 Best selling Woocommerce Theme 2020) - สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
คอร์สเรียนนี้เหมาะกับใคร ?
- เนื่องจากคอร์สเรียนนี้เราสอนเป็นกลุ่ม จึงไม่เหมาะกับทุกคน
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน WordPress มาบ้าง รู้พื้นฐานแบบงูๆปลาๆ หากคุณเคยลง WordPress เอง ลงปลั๊กอินได้ เคยสร้าง page หรือ post แบบนี้เรียนได้
- หรือหากคุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อนเลย แต่คุณมีทักษะไอที เช่น เคยใช้พวกโปรแกรมกราฟฟิค Photoshop, illustrator เคยใช้พวกโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ อะไรก็ได้มาบ้าง
- ถ้าคุณเคยใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าคุณมีทักษะไอที สามารถลงเรียนคอร์สนี้ได้
- เนื่องจากเราเรียนกันหลายคน หากผู้เรียนไม่มีทักษะไอทีเลยจะทำให้เรียนรู้ตามเพื่อนไม่ทันนั้นเอง
คอร์สเรียนนี้ไม่เหมาะกับใครบ้าง ?
- ผู้ที่ไม่มีทักษะด้านไอทีต่างๆ
- ผู้สูงวัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่คล่อง หรือหากรู้สึกว่าตัวเองเรียนรู้ได้ช้า คุณไม่เหมาะกับคอร์สเรียนนี้
- สำหรับคนที่ไม่มีทักษะด้านไอที หรือคิดว่าตนเองเรียนรู้ได้ช้า และชอบความเป็นส่วนตัว แต่ต้องการที่จะสร้างเว็บด้วยตนเอง
- ผมแนะนำให้ลงเรียนรอบสอนแบบตัวต่อตัวจะดีที่สุดครับ
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
ขอบคุณครับ เนื้อหาช่วยได้มากเลย
WordPress Cloud Hosting ในไทยจ้า 😀
https://www.youtube.com/watch?v=4Gll2uRFrYE&list=PLB_5KvaO81ag_LrRFzZr639BdlYFnEinC&index=23&t=2032s
สอบถามครับ
คือผมใช้ hostatom เหมือนกัน แต่เวลาใช้ chrome debug ออกมา (ตรง Network ใน Dev)
ส่วนของ Waiting for server response time มันประมาณ 1.4 วินาที
แต่ผมลองเชคกับเว็บตัวอย่างที่ให้ลองเล่นในนี้ ขึ้นแค่หลัก 10 หรือ หลัก 100 ms
หรือว่าเพราะของผมเป็น shared plan ครับ (ผมเลือก wordpress hosting wp-1)
ไม่ทราบว่าของที่ทาง padvee ใช้บน hostatom เป็น plan ไหนครับผม
ขอบคุณครับ
ดูคลิปนี้นะ https://www.facebook.com/padveewebschool/videos/4569784279806333