SEO Audit 15 วิธีตรวจเช็คสุขภาพเว็บ เพื่อทำให้เว็บมีคุณภาพเต็มร้อย

seo audit

การทำ SEO คือ การแข่งขัน เว็บที่มาที่หลัง ต้องทำทุกอย่างให้ดีกว่าเว็บที่ติดอันดับมาก่อน การจะทำเว็บให้ติดอันดับ Google ได้ ก็มีสิ่งที่ต้องทำมากมาย

พอต้องลงมือทำปรับแต่งเว็บในหลายๆ จุดบางครั้งเราอาจจะหลงลืม หรือบางครั้ง เราก็ยังแยกไม่ออกว่าจุดไหนที่ทำมาดี หรือจุดไหนยังทำไม่ดี

บทความนี้ ผมจะพาพวกเราทำ SEO Audit ตรวจเช็คสุขภาพเว็บของตัวเองกัน ว่ามีสิ่งที่ต้องตรวจเช็คจุดไหนบ้าง

SEO Audit คือ วิธีการตรวจเช็คเว็บจุดต่างๆ บนเว็บไซต์ ที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ SEO เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด และยังช่วยทำให้เว็บมีคุณภาพดีขึ้นในสายตา Google อีกด้วย

15 วิธีตรวจสุขภาพเว็บ (SEO Audit)

  1. เว็บไซต์ที่ดีต้องมี URL ของโดเมนเวอร์ชั่นเดียว
  2. เช็ค Mobile friendly
  3. เช็คคะแนน page speed
  4. เช็ค Core Web Vitals
  5. เช็คหน้าที่ถูกจัดทำดัชนี
  6. เช็คหน้า 404 page not found
  7. เช็คว่า google จับหน้าหลักของเราหรือใหม่
  8. เช็ค On page SEO 6 จุดส่วนบน
  9. เช็คโครงสร้าง on page ในเนื้อหา
  10. เช็คจำนวน Backlink คุณภาพ
  11. เช็ครูปภาพสดใหม่ ไม่ซ้ำใคร
  12. เช็ค Broken Link

 

ประหยัดเวลาเรียนรู้ สนใจเรียน SEO รอบสอนสด คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย

รับสอน seo

1. เว็บไซต์ที่ดีต้องมี URL ของโดเมนเวอร์ชั่นเดียว

คุณอาจจะยังไม่รู้ว่า Google สามารถ index เว็บของเราในหลายๆ เวอร์ชั่นของ URL ได้ แต่มันจะไม่ส่งผลดี เพราะสถิติต่างๆ มันจะแยกจากกัน

แต่ละ URL ของโดเมนจะมีอยู่ด้วยกัน 4 เวอร์ชั่น ดังนี้

http://yoursite.com
https://yoursite.com
http://www.yoursite.com
https://www.yoursite.com

เว็บทีดีต้องมีแค่เวอร์ชั่นเดียวในสายตา Google ดังนั้น สิ่งแรกคุณต้องทำ คือ เลือกก่อนว่าจะเลือกรูปแบบ URL ไหนเป็น URL หลัก ระหว่าง

https://yoursite.com
https://www.yoursite.com

*ไม่มีความแตกต่างกันในด้านการทำ SEO ระหว่างเว็บที่มี www กับไม่มี www แค่ว่าเว็บสมัยใหม่ เราไม่จำเป็นต้องมี www นำหน้าชื่อโดเมนก็ได้

และ URL ที่เหลือทั้ง 3 ต้องทำ redirect มา URL หลักทั้งหมด ก็คือไม่ว่าจะพิมพ์ URL โดเมนรูปแบบไหน ต้องแสดงหน้า URL ปลายทางแค่เวอร์ชั่นเดียว

ลองตรวจเช็คเว็บตัวเองดูนะ ส่วนเว็บของใครยังแยกเวอร์ชั่นการแสดงผลอยู่ ต้องไปทำ redirect URL ที่โฮส ถ้าทำเองไม่เป็น ให้แจ้งทางโฮสที่คุณเลือกใช่อยู่ ทำให้ได้เลยครับ

2. เช็ค Mobile friendly

เว็บที่ดี ต้องสามารถแสดงผลได้ในทุกอุปกรณ์ และนิยามของคำว่า Mobile friendly ไม่ใช่แค่เปิดเว็บบนมือถือได้เท่านั้น แต่เว็บที่เป็น Mobile friendly ต้องทำให้ user ใช้งานเว็บของเราด้วยมือข้างเดียวได้นั้นเอง จุดนี้ google จะดูพฤติกรรมของ user ที่เข้ามาใช้งานบนเว็บของเราประกอบด้วย

สำหรับวิธีเช็คว่าเว็บของคุณผ่านเกณฑ์ Mobile friendly หรือไม่ ให้เข้าไปเช็คบนเครื่องมือนี้ได้เลยครับ

Google’s Mobile-Friendly Testing Tool.

ใส่ URL หน้าเว็บของคุณลงไป แล้วคลิกปุ่ม URL ทดสอบ เดี๋ยวเครื่องมือนี้จะตรวจเช็คให้คุณเองครับ

ถ้าขึ้นผลลัพธ์แบบนี้แสดงว่าหน้าเว็บนั้นผ่านเกณฑ์ Mobile friendly ครับ

3. เช็คคะแนน page speed

การทำเว็บให้โหลดเร็วๆ เป็นสิ่งสำคัญ จากสถิติพบว่า 53 % ของคนเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือ จะปิดหน้าเว็บนั้นหากโหลดช้าเกิน 3 วินาที

ดังนั้นการตรวจเช็คความเร็วเว็บ เราจะตรวจเช็คด้วยกัน 2 วิธี คือ

  1. เช็คจากความรู้สึกเปิดใช้งานเว็บจริงบนมือถือ ต้องไม่ข้าเกิน 3 วินาที
  2. ตรวจเช็คผ่านเครื่องมือ PageSpeed Insights ต้องได้คะแนนเกินโหมดมือถือเกิน 60 คะแนนขึ้นไป

*เว็บคุณไม่จำเป็นต้องทำให้ได้คะแนน 90 คะแนนขึ้นไปก็ได้ครับ (เกิน 60 คะแนนก็ผ่านเกณฑ์แล้ว) เพราะเว็บที่คะแนนสูง ไม่ได้แปลว่าเว็บนั้นเนื้อหามีคุณภาพ แต่ถ้าเราทำเนื้อหาบนเว็บได้มีคุณภาพ แม้คะแนน Page Speed เราจะได้น้อย แต่ Google ก็จะเลือกเว็บเรามากกว่าครับ

สำหรับเว็บใครยังไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ให้ลองปรับเว็บตามแนวทางนี้ดูครับ ทำเว็บ WordPress ให้โหลดเร็ว 100/100

4. เช็ค Core Web Vitals

Core Web Vitals คือ เมตริกที่ใช้วัด Page Experience (ประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บ) โดยทาง Google จะประกาศใช้หลักเกณฑ์นี้อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา แน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่ออันดับในหน้าผลการค้นหา (SERP) สำหรับเว็บที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์นี้ด้วย

การจะเช็คว่าเว็บของเราผ่านเกณฑ์นี้หรือไม่ เราต้องไปตรวจเช็คที่ Google Search Console โดยตรงครับ ให้เข้าไปที่ Google Search Console แล้วดูหัวข้อ Core Web Vitals ที่อยู่ด้านซ้ายมือ

ต้องทำให้เว็บมี URL ที่ดี ให้ได้มากที่สุด บาง URL อาจจะไม่ผ่านเกณฑ์นิดหน่อยไม่เป็นไร แต่ต้องทำให้ URL ส่วนใหญ่บนเว็บของเราผ่านเกณฑ์ให้ได้มากที่สุดนั้นเอง

การจะปรับเว็บให้ผ่านเกณฑ์ Core Web Vitals คงต้องอธิบายกันยาว ผมแนะนำให้คุณอ่านคู่มือนี้เพิ่มเติมครับ ปรับเว็บอย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ Core Web Vitals

5. เช็คหน้าที่ถูกจัดทำดัชนี (หน้าที่ Google Index)

เว็บของเราจะมีกี่ร้อยหน้า หรือกี่พันหน้า มันก็จะไม่มีความหมาย ถ้าหน้าต่างๆ เหล่านั้นไม่ถูก Google index

หน้าที่ Google index คือ หน้าเว็บต่างๆ ที่ Google รวบรวม เข้ามาเก็บในฐานข้อมูลของ Google เพื่อนำมาจัดทำ Ranking ในหน้าผลการค้นหา (SERP) ต่อไป

วิธีตรวจเช็คว่า เว็บเราภาพรวมมีคุณภาพดีหรือไม่ ให้เช็คที่ Google Search Console โดยให้ดูที่หัวข้อ การครอบคลุม

ให้เราโฟกัสการตรวจเช็ค โดยไปที่หัวข้อคำว่า ถูกต้อง (ดูรูปภาพด้านบนนะที่เป็นสีเขียว) คำว่าถูกต้องในที่นี้หมายถึงหน้าเว็บทั้งหมดของเราที่ Google index นั้นเอง

หลักการพิจารณาว่าเว็บของเราภาพรวมคุณภาพดีหรือไม่ มีหลักการดูดังนี้

จำนวนหน้าที่ Google index กลับหน้าเว็บที่เราสร้างจริงบนเว็บของเรา ต้องใกล้เคียงกัน

เช่น ตามรูปด้านบนคือเว็บของผมเอง padveewebschool.com ที่ google search console แจ้งว่า เว็บผมมีหน้า URL ที่ถูก index (จัดทำดัชนี) อย่างถูกต้องจำนวน 141 หน้า ( 141 URL)

คราวนี้ผมจะเข้าไปหลังบ้านเว็บของผม เพื่อดูว่าตอนนี้ผมมีหน้าเว็บที่สร้างจาก Page หรือ Post ไว้ทั้งหมดจำนวนเท่าไหร่

จากตัวอย่างเว็บของผมมีจำนวน

หน้า page 54 หน้า

หน้า post 97 หน้า

หน้าที่ผมตั้งใจทำ no index ไว้มีประมาณ 10 หน้า

รวมหน้าทั้งหมด 54 + 97 – 10 = 141 หน้า

ดังนั้นหน้าเว็บที่ผมตั้งใจให้ google มา index กับหน้าที่ google มา index จริงๆ ตรงกัน แบบนี้แสดงว่าเว็บนั้นมีคุณภาพดี

เว็บที่คุณภาพดี คือ ไม่ว่าเว็บคุณจะทำเนื้อหาไปแล้วกี่ร้อยหน้า ต้องทำให้ google มา index เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด

อาจจะไม่จำเป็นต้องมาเก็บครบ 100% แบบเว็บของผมก็ได้ แต่ต้องให้ได้มากกว่า 90% ขึ้นไป

 

*ถ้าคุณเป็นเว็บขายสินค้า มีการใช้ WooCommerce คุณต้องนับจำนวนหน้าทั้งหมด คือ page + post + category product + product – noindex กับ หน้า canonical

ต้องเอาหน้าทั้งหมดมาบวกลบกันเพื่อใช้ในการตรวจเช็คการ index นะ

สำหรับเว็บของใครมีหน้าเยอะ แต่ google index น้อย ให้แก้ไขตามแนวทางนี้ครับ Google ไม่ index แก้ไขยังไง วิธีทำให้ Google ทำดัชนีไวๆ

6. เช็คหน้า 404 page not found

404 page not found คือ หน้าที่ Googlebot เคยเข้ามาเก็บข้อมูล (index ไปแล้ว) แต่เมื่อเขาเข้ามาเก็บข้อมูลซ้ำ กลับไม่พบ URL นั้น

เว็บที่ดีต้องอย่าให้มีหน้าที่เป็น 404 page not found โดยเฉพาะหากหน้านั้นมี ranking ติดอันดับหน้าแรก google อยู่แล้ว

การเกิดหน้า 404 page not found ก็มีหลายสาเหตุ แต่ที่เป็นสาเหตุหลักๆ คือ การแก้ URL แล้วไม่ได้ทำ redirect 301 กับไปเผลอลบหน้านั้นทิ้งโดยไม่ตั้งใจ

วิธีการเช็คหน้า 404 ต้องเช็คผ่าน Google Search Console โดยให้ดูที่หัวข้อ การครอบคลุม และเลือกไปที่ข้อผิดพลาด

หากคุณพบปัญหาข้อผิดพลาด 404 ให้รีบจัดการแก้ไขด้วยการ ทำ redirect 301 ไปได้เลยครับ

7. เช็คหน้าหลักที่เราทำ on page กับหน้าที่ google จับ ต้องตรงกัน

ในหัวข้อนี้หมายถึงอะไร?

หมายความว่า ในบางครั้งเรามีหน้าเนื้อหาที่เราอยากติดอันดับ แต่ตอนแสดงผลในหน้าผลการค้นหา Google กับไปเลือกจับอีกหน้ามาแสดงแทน

แบบนี้เราเรียกว่า Google ไม่จับหน้าหลัก

ถ้าเว็บใคร Google ไม่จับหน้าหลัก แบบนี้คือไม่ส่งผลดี เพราะหน้านั้น จะไม่มีทางขึ้นมาติดอันดับ 1 Google ได้ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่เราตั้งใจทำ หากติดอันดับมันจะติดอันดับแบบหว่านๆ ติดอันดับใน key ที่เราต้องการก็จริง แต่จะติดได้เพียงชั่วคราว หากมีเว็บอื่นที่ทำเนื้อหามาดีกว่าเว็บของเรา เราก็จะถูกแซงครับ

วิธีการเช็คว่า google จับหน้าหลักของเราหรือใหม่ จุดนี้เราต้องทำไปที่ละหน้า

สมมุติ เว็บของผม

ผมอยากติดหน้าแรก google คำว่า “สอน SEO”

หน้าหลักที่ผมทำ on page คำนี้ คือหน้านี้

https://padveewebschool.com/learn-seo-free/

ดังนั้นหากเว็บคุณทำทุกอย่างมาดี Google ต้องจับ URL หน้านั้นมาเป็นหน้าหลัก

วิธีการเช็คว่า แต่ละ key บนเว็บของเราว่า google เลือกหน้าไหนมาเป็นหน้าหลักของ key นั้น ให้พิมพ์ตามนี้ครับ

keyword site:https://yoursite.com

ตัวอย่าง

สอน seo site:https://padveewebschool.com/

ตามตัวอย่างด้านบน แบบนี้คือปกติ หน้าหลักที่ผมตั้งใจทำ กับหน้าที่ google เลือก เป็นหน้าเดียวกัน

ตามรูปด้านบน หากเว็บคุณเป็นแบบนี้ หน้าที่ต้องการไม่ได้อยู่เป็น URL แรก แบบนี้คือไม่ดี แปลว่า google จับหน้าหลักบนเว็บของคุณผิดหน้า ต้องทำการแก้ไข

หลักการแก้ไขหาก google จับเว็บเราผิดหน้า มีดังนี้

  1. ถ้าหน้านั้นใช้ key ซ้ำกับหน้าหลัก ให้ทำ canonical
  2. ถ้าหน้าที่ขึ้นอันดันแรกมี key ของตัวเอง แปลว่า หน้าหลักที่คุณต้องการยังทำเนื้อหาไม่ดี อาจจะเนื้อหาซ้ำ หรือข้อมูลน้อยเกินไป ก็ให้เข้าไปปรับปรุงเนื้อหาให้สดใหม่ ไม่ซ้ำ เขียนให้ยาวขึ้น และทำเนื้อหาให้มันเด่นชัดเจนเรื่องเดียว

ไล่เช็คและค่อยๆปรับปรุงไปที่ละหน้าได้เลย จำกฎสำคัญเอาไว้ให้ดี หน้าหลักทีเราอยากติดอันดับ กับหน้าที่ google จับ ต้องเป็นหน้าเดียวกัน

8. เช็ค On page SEO 6 จุดส่วนบน

การปรับ On page ให้ครบในแต่ละหน้ามันมีรายละเอียดเยอะ มีทั้งจุดที่สำคัญ (ต้องใส่) กับจุดที่ไม่สำคัญ ใครยังไม่รู้จักว่า On page SEO ต้องใส่อะไรบ้าง ให้ลองเข้าไปอ่านบทความนี้ก่อนนะ เขียนบทความ SEO ให้ถูกหลัก Google ด้วย On-page checklist

แต่ละหน้าเว็บ จะถือว่าเป็นหน้าเว็บทีดี on page 6 จุดด้านบนต้องใส่ให้ครบ

On page SEO ทั้ง 6 จุด มีดังนี้

  • Page Title Optimization
  • Meta Description Optimization
  • URL Friendly
  • Featured image with alt text
  • Use H1 on Focus Keyword
  • Focus keyword in 1st paragraph

การจะตรวจเช็ค 6 จุดนี้ได้ เราต้องเช็คแบบแมนนวล ไล่เปิดเช็คไปที่ละหน้า โดยเริ่มจากหน้าสำคัญๆ บนเว็บของเราก่อน ไล่ทำไปเรื่อยๆ

การทำ site audit หรือตรวจเช็ค on page เว็บภาษาไทย เราจะใช้เครื่องมือ SEO ต่างๆ ไม่ค่อยได้ เพราะเครื่องมือเหล่านั้น ส่วนใหญ่ยังไม่รองรับในการตรวจเช็คภาษาไทยนั้นเอง

9. เช็คโครงสร้าง on page ในเนื้อหา

เช็คโครงสร้าง on page ในเนื้อหา คือเช็คการวาง H1-H3 เช็คความยาวเนื้อหา เช็คลิงก์เชื่อมโยงต่างๆ ซึ่งมันมีรายละเอียดเยอะ แต่ผมจะสรุปวิธีการเช็คแบบง่ายๆ ดังนี้

  • h1 1 ครั้ง
  • h2 ต้องมีอย่างน้อย 4 ครั้ง
  • h3 ต้องมีอย่างน้อย 2 ครั้ง
  • h2-h3 ให้ย้ำๆ keyword (ต้องมีปรากฎอย่างน้อย 3-4 ครั้ง)
  • ต้องมี keyword และคำที่ความหมายเดียวกัน ปรากฎในเนื้อหาใต้หัวข้อ h2 h3
  • แต่ละหัวข้อ h2 และ h3 ต้องมีคำขยายความสดใหม่ด้วย
  • ลิงค์ไปหน้า key หลักต้องมีอย่างน้อย 2 ลิงค์
  • key รองอย่างน้อย 1ลิงก์
  • ลิงค์ไปหน้าบทความ ที่เกี่ยวข้องกันต้องมีอย่างน้อย 1 ลิงก์
  • ต้องมี external อย่างน้อย 1 ลิงก์
  • ต้องมีรูปภาพสดใหม่ไม่ซ้ำใครอย่างน้อย 3 รูป
  • ใส่ focus keyword ที่ alt text ที่รูปภาพ 3 รูปพอ
  • ด้านความสวยงาม อย่าไปดีไซน์เหมือนเว็บที่ติดหน้าแรก
  • เราต้องทำเว็บเราให้มีความแตกต่าง การวางข้อมูล รูปภาพ ต่างๆ ต้องแตกต่างจากเว็บอื่นๆ
  • เนื้อหาต้องห้ามคัดลอก ต้องเขียนสดใหม่ รูปภาพประกอบต้องสวย

10. เช็คจำนวน Backlink คุณภาพ

Backlink คือ ลิงค์จากเว็บอื่นๆ ที่ชี้กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา เป็นสิ่งที่บอก Google ให้รู้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เรา ได้รับการยอมรับเหมือนเป็นคะแนนโหวตจากเว็บอื่นๆ ส่งมาให้

ทุกคนรู้กันอยู่แล้ว ว่าการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ ทุกเว็บต้องมี Backlink แต่สิ่งที่เราต้องโฟกัสสำหรับการทำ Backlink คือ ด้านคุณภาพ ไม่ใช่ด้านปริมาณ

ดังนั้นสิ่งแรกก่อนที่คุณจะหา Backlink มาเติมใส่เว็บ คุณต้องเข้าใจแจ่มแจ้งก่อนว่า Backlink ที่ดีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

คุณสมบัติของ Backlink ทีดีมีดังนี้

  • ต้องมาจากหน้าเว็บที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ key หลักบนเว็บของเรา
  • หน้านั้นต้องมี Traffic (อย่างน้อย 50 คลิกต่อเดือน)
  • ลิงก์นั้นต้องเป็น anchor text ที่เป็นคำตรงๆ หรือเกี่ยวข้องกับหน้า Key หลักบนเว็บของเรา
  • ต้องเป็นลิงค์ที่มาจากเนื้อหาจะได้คะแนนมากว่า ลิงค์ที่มาจาก sidebar หรือ footer
  • ในหน้านั้น ต้องไม่มีลิงก์ออกไปเว็บคนอื่นที่ใช้คำเดียวกับ key หลักของเรา
  • ลิงก์นั้นต้องเป็นประเภท Do Follow
  • ตำแหน่งของลิงก์ต้องวางอยู่ช่วยบนๆ ของเนื้อหา (ลิงกช่วงบนจะมีโอกาสถูกกดมากว่าลิงก์ด้านล่าง)
  • แม้ลิงค์ที่ส่งมาจากเว็บคนอื่น จะเป็น No followed Links ก็ถือว่ามีผลดี หากเว็บต้นทางเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ หากมีคนกดลิงค์นั้นมายังเว็บเรา

ดังนั้นคุณต้องเอาเงื่อนไขด้านบนเป็นตัวตรวจเช็ค backlink ทั้งหลายที่คุณได้รับ แล้วเช็คดูว่ามีจำนวนเท่าไหร่ที่ผ่านเกณฑ์

โปรแกรมที่จะใช้เช็ค Backlink ก็จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ

ตัวอย่างการเช็ค backlink ผ่าน  ahrefs

จากรูปเว็บ padveewebschool จะมีจำนวน backlink มากเท่าไหร่ไม่รู้ แต่มีเพียงแค่ 12 backlink ที่เป็นหน้าที่มี Traffic เกิน 50 คลิกต่อเดือนแค่นั้น

ดังนั้นคุณต้องเอาแต่ละหน้า URL ไปเช็คต่อว่า เข้าเงื่อนไข backlink ที่ดีหัวข้ออื่นๆ หรือไม่

ส่วน backlink อื่นๆ ถ้าไม่ใช่ backlink spam แต่อาจจะไม่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด เราก็ทำได้ แค่ว่ามันจะได้ประโยชน์น้อยนั้นเอง

วิธีดู backlink spam และวิธีการเอา backlink ที่ไม่ดีออก ให้ทำตามคู่มือนี้ครับ วิธีทำ Disavow links เพื่อเอา backlink ที่ไม่มีคุณภาพออกไปจากเว็บ

11. เช็ครูปภาพสดใหม่ ไม่ซ้ำใคร

การทำ SEO คือการทำการตลาดผ่านข้อมูล หน้าที่ของเราคือ ต้องพยายามป้อนข้อมูลสดใหม่ส่งให้ Google ให้ได้มากที่สุด แต่ข้อมูลที่ Google ต้องการ ไม่ใช่แค่ตัวอักษรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรูปภาพด้วย

ดังนั้น ให้พวกเรายึดกฎเกณฑ์นี้เอาไว้ได้เลย แต่ละหน้าเราจะมีรูปภาพกี่ใบก็ได้ แต่ต้องให้มีอย่างน้อยๆ 3 รูป ที่เป็นรูปภาพสดใหม่ไม่ซ้ำใคร

แต่เราจะเช็คยังไงว่า รูปไหนซ้ำ รูปไหนไม่ซ้ำ?

วิธีการเช็ครูปภาพไม่ซ้ำ มีดังนี้

ให้เปิดหน้า Google คลิกไปที่คำว่า ค้นรูป

คลิกที่สัญลักษณ์ ค้นด้วยภาพ

คลิกที่ อัปโหลดรูปภาพ แล้วอัปโหลดไฟล์รูปบนเว็บของเราไปตรวจเช็ค

เราจะเจอผลลัพธ์อยู่ 3 แบบ คือ

1) รูปนี้ยังไม่ปรากฏบนฐานข้อมูล Google

2) รูปนี้ปรากฏบนฐานข้อมูล Google และเว็บเราได้โควต้า เป็นต้นฉบับของรูปนั้น

3) รูปนี้ปรากฏบนฐานข้อมูล Google แต่รูปบนเว็บเรานั้นซ้ำกับของเว็บอื่น

แต่ละหน้าบนเว็บของเรา ต้องมีรูปภาพที่มีลักษณะแบบข้อ 1 และ ข้อ 2 อย่างน้อยๆ 3 รูป

แต่ถ้าคุณสามารถทำให้ทุกรูปลักษณะแบบข้อ 1 และ ข้อ 2 ได้ก็ยิ่งดี

รูปที่มีลักษณะแบบที่ 1 แม้ว่าจะยังไม่เห็นเว็บของเราขึ้นมาปรากฏ อาจจะเป็นเพราะว่า เนื้อหาของหน้านั้น อาจจะใหม่เกินไป Google ก็เลย ยังไม่ได้เข้ามาเก็บข้อมูลหน้านั้น แต่ก็ถือว่าใช้ได้ เพราะรูปที่เราใส่บนเว็บรูปนั้น ก็ไม่เคยปรากฏที่เว็บคนอื่นเช่นเดียวกัน

สรุป เกี่ยวกับการเช็ครูปภาพไม่ซ้ำ ไม่ควรคัดลอกรูปจากเว็บคนอื่นๆ มาใช้ตรงๆ ควรมีการตัดต่อใส่ art work เพื่อทำให้รูปมันแตกต่างจากรูปบนเว็บคนอื่น หรือถ่ายรูปใหม่เองไปเลย ก็จะดีที่สุดครับ

แต่บางรูปที่ไม่สำคัญอาจจะมีการใช้ซ้ำกับเว็บคนอื่นๆ บ้างนิดหน่อยไม่เป็นไร แต่ขอให้มีรูปภาพที่ไม่ซ้ำมากกว่ารูปที่ซ้ำเป็นสำคัญครับ

12. เช็ค Broken Link

เว็บที่ดีลิงก์เชื่อมโยงต่างๆ ทั้งลิงก์ภายในและลิงก์ภายนอก ต้องไม่มีลิงก์เสีย (Broken Link)  เพราะเมื่อเวลาผ่านไปบางเว็บที่เราเคยทำลิงก์ส่งไปหา เว็บเหล่านั้น อาจะเข้าไปไม่ได้แล้ว

อาจจะเป็นเพราะว่าเว็บนั้นเขาเลิกทำ ขาดการดูแล หรือเขามีการเปลี่ยน URL แต่ไม่ได้ทำ redirect 301 ทำให้เราเปิดหน้าเว็บปลายทางนั้นไม่ได้ ลิงก์บนเว็บเราก็จะกลายเป็นลิงก์เสีย (Broken Link)

วิธีการหา Broken Link ก็ทำได้หลายวิธี ผ่านพวกโปรแกรม SEO ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Ahrefs, Screaming Frog แต่โปรแกรม SEO หลายตัวมันราคาค่อนข้างแพง

ดังนั้น การเช็ค Broken Link ผมแนะนำให้พวกราใช้เครื่องมือนี้ครับ BrokenLinkCheck.com ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้เราใช้งานได้ฟรี (แต่จำกัดเช็คได้แค่ 3000 หน้านะ)

เข้าไปที่หน้าเว็บ BrokenLinkCheck.com แล้ววาง URL เว็บที่ต้องการเช็คลงไป จากนั้นกด Find Broken links

ให้เลือกรายงานผลแบบ report distinct broken พอครับ

ระบบก็จะใช้เวลาค้นหาสักครู่ ถ้าเว็บใครมีหน้าเนื้อหาเยอะก็อาจจะรอนานหน่อย

ด้านล่างคือรูปผลลัพธ์ Broken link ทั้งหมดบนเว็บของผม

เราก็เปิดไปยังหน้าที่มีลิงก์เสียเหล่านั้น ไล่เปลี่ยนลิงก์ใหม่ หาเว็บที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับของเดิม มาทำเป็นลิงก์ส่งออกแทนครับ

บทความนี้ยังเขียนไม่เสร็จ รอการอัพเดทเนื้อหาเพิ่มเติมสักครู่ครับ

One thought on “SEO Audit 15 วิธีตรวจเช็คสุขภาพเว็บ เพื่อทำให้เว็บมีคุณภาพเต็มร้อย

  1. uchiha says:

    ทำไมรูปภาพในข้อ 5. ตรงมุมขวาบนเป็นสมาร์ทโฟนครับ ? ของผมเป็นเดสก์ท็อป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *