Refresh

This website padveewebschool.com/seo-specialist/ is currently offline. Cloudflare's Always Online™ shows a snapshot of this web page from the Internet Archive's Wayback Machine. To check for the live version, click Refresh.

SEO specialist มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง ทักษะไหนที่จำเป็นต้องมี

SEO specialist

SEO คือ 1 ในช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีความสำคัญ การสร้างเว็บนั้นไม่ยาก แต่การทำให้คนมาค้นหาข้อมูลบน Google แล้วพบเจอเว็บของเรานั้นยากกว่า เพราะพื้นที่การแสดงผลบนหน้าแรกของ Google มีจำกัด SEO specialist จึงเป็นตำแหน่งงานที่สำคัญในการช่วยผลักดันเว็บไซต์ที่เขาดูแล ให้ติดอันดับหน้าแรก Google ให้ได้

SEO specialist คือใคร

SEO Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญในการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับบนเครื่องมือค้นหา หรือเรียกสั้นๆ ว่า ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง SEO นั่นเอง พวกเขาคือคนที่รู้ลึก รู้จริง เกี่ยวกับกลไกการทำงานของ Search Engine อย่าง Google ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหา

ถ้าเปรียบ Search Engine เป็นสนามแข่งขัน SEO Specialist ก็เปรียบเสมือนโค้ชที่คอยฝึกฝนนักกีฬา (เว็บไซต์) ให้มีความแข็งแกร่งและพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งนับล้านๆ เว็บไซต์ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การพาเว็บไซต์ไปติดอันดับต้น ๆ ในผลการค้นหา เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้แบรนด์ และผลักดันยอดขายให้เติบโต

SEO specialist มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

คนทำ SEO มีหน้าที่อะไรบ้าง หลายๆ คนอาจจะยังเข้าใจผิด เราจะรู้ขอบเขตหน้าที่ของฝ่าย SEO ได้ คุณต้องเข้าใจก่อน ว่าการทำ SEO ก็คือการทำคอนเทนต์ ผสมกับการปรับแต่งทางเทคนิคให้ตัวเว็บไซต์มี performance ดีที่สุดในแบบที่ Google ต้องการ

พอมันมี 2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือเรื่องคอนเทนต์ กับการปรับแต่งทางเทคนิค ขั้นตอนการทำงานจึงต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เพราะการทำคอนเทนต์บนเว็บ มันครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็น text และรูปภาพ รวมถึงการวางองค์ประกอบของข้อมูล ให้ถูกหลัก UX/UI ซึ่งเป็นการทำทุกอย่างบนเว็บให้ง่ายต่อการใช้งาน

SEO specialist คือ คนวางแผนการ คนหากลยุทธ์ด้าน SEO ให้เหมาะกับธุรกิจนั้นๆ และกระจายงานไปยังส่วนต่างๆ รวมถึงค่อยตรวจเช็คสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำลงไปบนเว็บว่าอะไรทำถูก อะไรทำผิด หรือจุดไหนสามารถแก้ไขให้มันดีขึ้นได้อีก

SEO specialist ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการเขียนบทความ ออกแบบรูปภาพ หรือแก้ไขตัวเว็บไซต์ แต่เป็นคนหาคำตอบว่า เว็บที่ Google ชอบต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เนื้อหาในแต่ละหน้า ต้องวางโครงสร้างข้อมูลอย่างไร ต้องทำบทความอะไรกันบ้าง ต้องออกแบบรูปภาพแบบไหนให้ Google ชอบ อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำที่หลัง อะไรควรทำเพิ่ม อะไรควรเอาออก แล้วเอาความรู้พวกนี้ ไปสั่งการให้ฝ่ายต่างๆ ลงมือทำ

หน้าที่หลักๆ ของ SEO specialist จึงมีดังนี้

1.  หากลยุทธ์ด้าน SEO ให้เหมาะกับธุรกิจนั้นๆ

หน้าที่นี้หลักๆ คือ การวิเคราะห์ธุรกิจของลูกค้า ว่ามี จุดเด่น-จุดด้อย อะไรบ้าง กลุ่มลูกค้าหลักๆ ของเขาคือคนกลุ่มไหน มีความสนใจอะไรบ้าง มีธรรมชาติของการซื้อของเป็นแบบไหน  วิเคราะห์ต้นทุนการตลาดของลูกค้าที่เราจะเข้าไปดูแล ว่าในตอนนี้เขามีทีมงานฝ่ายการตลาดส่วนไหนบ้าง ใช้งบการตลาดทั้ง offline และ online ไปมากน้อยเพียงใด แล้วเราก็เอาข้อมูลทั้งหมด มาสรุป เป็นกลยุทธ์ SEO ให้เหมาะกับลูกค้าของเรา

2. วางแผนการลงมือทำ

วางแผนการทำงาน เพื่อให้ถึงเป้าหมาย SEO ที่เราได้วางไว้ SEO specialist จะเป็นคนคอยกำหนดสิ่งที่ทำในแต่ละช่วงเวลา เช่น 3 เดือนแรกควรทำอะไรก่อน อะไรทำที่หลัง เดือนที่ 4 เป็นต้นไปควรโฟกัสที่อะไร ผู้เขี่ยวชาญ SEO จึงเป็นเหมือนผู้กำกับให้ทีมงานการตลาดส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลงมือทำตามแผนนั้นเอง

3. ทำ Keyword Research

ภารกิจนี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของฝ่าย SEO specialist เลยก็ว่าได้ คนที่มีหน้าที่นี้ ต้องวิเคราะห์ธุรกิจของลูกค้าให้ออก ว่า Keyword ที่จะสร้างยอดขายให้กับธุรกิจของลูกค้ามีอะไรบ้าง รวมถึงหา Keyword เพื่อมาเก็บ Lead กลุ่มเป้าหมายที่อาจจะมีความสนใจในสินค้าหรือบริการของเราในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญ SEO ต้องมีความสามารถในการแยกแยะ keyword ที่ยาก keyword ที่ง่าย คำไหนเกี่ยวข้อง คำไหนไม่เกี่ยวข้อง คำไหนไม่ควรทำ จัดกลุ่ม keyword ต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ให้ออกนอกเรื่อง หรือมีการทำเรื่องเดิมซ้ำซ้อนกัน

4. ปรับ On-Page SEO

On-Page SEO คือ การปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา, โครงสร้างเว็บไซต์, Meta Tags, Header Tags, รูปภาพ, ลิงก์ภายใน เพื่อให้ Google หรือ Search engine อื่นๆ เข้าใจเนื้อหาบนเว็บและจัดอันดับเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

5. วางแผนการทำ Off-Page SEO

SEO specialist จะเป็นอธิบายเรื่อง Off-Page SEO (สิ่งที่ต้องทำภายนอกเว็บ) ให้ทีมการตลาดของบริษัทลูกค้าที่เราดูแลให้พวกเขาเข้าใจว่ามีสิ่งที่ต้องช่วยกันทำอะไรบ้าง เช่น การทำ Social Media Marketing, การทำ Brand awareness รวมถึงช่วยทำเครือข่าย Backlink เพื่อมาสนับสนุนเว็บหลักด้วย

6. ตรวจเช็ค Technical SEO

SEO specialist ไม่ใช่คนทำเว็บ จึงไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปแก้ไขเว็บโดยตรง แต่จะเป็นคนตรวจเช็คภาพรวมการทำงานของเว็บ ว่ามีจุดไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดอันดับของ Google หรือไม่ เช่น เช็คการโหลดของเว็บว่าช้าหรือเร็ว เช็คความปลอดภัย, เช็คความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ หากตรวจเช็คแล้วพบสิ่งที่เป็นปัญหา ก็ค่อยประสานงานไปยังฝ่ายทำเว็บ หรือฝ่ายโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้พวกเขาแก้ไขปัญหาเหล่านี้

7. ติดตามสิ่งที่ทำและจัดทำ report ผลลัพธ์ SEO

SEO specialist จะเป็นผู้ติดตามและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในเครื่องมือค้นหา, ตรวจสอบอันดับของคีย์เวิร์ด, วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งาน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงกลยุทธ์ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงคอยจัดทำรายงานผลลัพธ์ต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร แล้วสรุปให้ผู้ว่าจ้างเข้าใจ

โดยสรุป เพื่อให้พวกเราเข้าใจแบบง่ายๆ SEO specialist นั้น

  • ไม่ใช่คนทำเว็บ
  • ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์
  • ไม่ใช่คนทำกราฟฟิก
  • ไม่ใช่คนเขียนบทความ
  • ไม่ใช่คนทำ social Media Marketing

แต่เป็นคนที่คอยวางแผนการตลาดด้าน SEO เปรียบเหมือนเป็นผู้กำกับ คอยสั่งการ ประสานงานกับทีมงานตลาดส่วนต่างๆ รวมถึงค่อยตรวจเช็คสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำลงไปบนเว็บว่าอะไรทำถูก อะไรทำผิด หรือจุดไหนสามารถแก้ไขให้มันดีขึ้นได้อีก

ทักษะที่จำเป็นต้องมีของ SEO specialist

SEO Specialist จำเป็นต้องมีทักษะหลากหลายด้าน ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการทำ SEO

1. Hard Skills (ทักษะความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน)

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ Search Engine: รู้จักหลักการและอัลกอริทึมของ Search Engine ต่างๆ โดยเฉพาะ Google เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำ SEO ได้อย่างถูกต้อง
  • ทักษะการวิจัยคีย์เวิร์ด (Keyword Research): สามารถค้นหาและวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมกับธุรกิจและนำมาใช้ในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ทักษะการทำ On-Page SEO: ปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ภายในเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา, โครงสร้างเว็บไซต์, Meta Tags, Header Tags, รูปภาพ, ลิงก์ภายใน
  • ทักษะการทำ Off-Page SEO: สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ด้วยการสร้างลิงก์จากเว็บไซต์อื่นๆ (Backlinks), การทำ Social Media Marketing, การทำ Content Marketing เพื่อให้ Search Engine มองเห็นว่าเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ
  • ทักษะการใช้เครื่องมือ SEO: สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Google Analytics, Google Search Console, Ahrefs, Ubersuggest เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและติดตามผลการทำ SEO
  • ความรู้พื้นฐานด้าน HTML, CSS, JavaScript: เพื่อสามารถปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ หรือบางจุดแม้ว่าเราจะแก้ไขเองไม่ได้ แต่ก็สามารถประสานงานให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

2. Soft Skills (ทักษะด้านบุคลิกภาพและการเข้าสังคม)

  • ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล: สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงกลยุทธ์ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ทักษะการแก้ปัญหา: สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำ SEO ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะการสื่อสาร: สามารถสื่อสารและอธิบายเรื่องยากๆ เกี่ยวกับ SEO ให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม: สามารถทำงานร่วมกับทีมงานอื่นๆ เช่น นักพัฒนาเว็บไซต์, นักการตลาด เพื่อให้การทำ SEO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความคิดสร้างสรรค์: สามารถคิดค้นกลยุทธ์ SEO ใหม่ๆ และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึม Search Engine
  • ความขยันและอดทน: การทำ SEO ต้องใช้เวลาและความอดทนในการเห็นผลลัพธ์

3. ทักษะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์

  • ความรู้ด้าน Content Marketing: สามารถสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและดึงดูดผู้ใช้งาน
  • ความรู้ด้าน Social Media Marketing: สามารถโปรโมทเว็บไซต์และเนื้อหาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย
  • ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ: เพื่อสามารถศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ SEO จากแหล่งข้อมูลต่างประเทศได้

การเป็น SEO Specialist ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพราะเทคโนโลยีและอัลกอริทึมของ Search Engine มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เงินเดือนของ SEO specialist

เงินเดือนของ SEO Specialist ในประเทศไทยมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ อุตสาหกรรม และขนาดของบริษัท

โดยเฉลี่ยแล้ว เงินเดือนของ SEO Specialist ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 100,000 บาทต่อเดือน

รายละเอียดเงินเดือนตามประสบการณ์

  • ระดับเริ่มต้น (0-2 ปี): 25,000 – 40,000 บาทต่อเดือน
  • ระดับกลาง (3-5 ปี): 40,000 – 65,000 บาทต่อเดือน
  • ระดับสูง (5 ปีขึ้นไป): 65,000 – 100,000+ บาทต่อเดือน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเดือน

  • ประสบการณ์: ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไหร่ เงินเดือนก็จะยิ่งสูงขึ้น
  • ความเชี่ยวชาญ: ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Technical SEO หรือ E-commerce SEO อาจมีเงินเดือนสูงกว่า
  • อุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การเงิน, ประกัน หรือ ด้านเสริมความงาม อาจมีเงินเดือนสูงกว่า
  • ขนาดของบริษัท: บริษัทขนาดใหญ่ หรือ บริษัทต่างชาติ มักมีเงินเดือนสูงกว่าบริษัทขนาดเล็ก
  • ความสามารถในการทำงาน: ผู้ที่มีผลงานโดดเด่น และสามารถพิสูจน์ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO ให้กับเว็บไซต์ได้จริง จะมีโอกาสได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้น

สรุป

SEO Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด SEO ที่ผสมผสานความรู้ทางเทคนิคและความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อยกระดับเว็บไซต์ให้โดดเด่นบนผลการค้นหาของ Search Engine พวกเขาเปรียบเสมือนสถาปนิกที่ออกแบบและปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งานและ Search Engine ด้วยการใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การวิจัยคีย์เวิร์ด การปรับแต่งเนื้อหาและโครงสร้างเว็บไซต์ ไปจนถึงการสร้างลิงก์คุณภาพ ทั้งหมดนี้เพื่อเพิ่มการมองเห็นของแบรนด์ ดึงดูด Traffic และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในโลกออนไลน์

บทความอื่นๆ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติมหากอยากเป็น SEO Specialist

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *